วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

หมอลำกับวิถีชีวิต

ดังที่จะทราบกันอยู่แล้วว่า

หมอลำ อยู่คู่กับชาวอีสานมาเนินนานแล้ว มีใครจะรู้ใหมว่า หมอลำนั้นมีกี่ประเภทหมอลำนั้นตามที่ท่านผู้รู้ ปราชญ์ชาวย้าน ได้กล่าวถึงสามมารถจำแนก ออกมาเป็น 4 ประเภท
นั้นคือ

        1. หมอลำพื้น หมอลำพื้นั้นท่านได้กล่าวว่า เป็นหมอลำที่เก่าแก่ที่สุด เป็นการแสดงเพียงคนเดียว อุปกรณ์มีอย่างเดียว คือ ผ้าขาวม้า เครื่องดนตรี คือ แคนเก้า เป็นแคนทำนองเสียงทุ้มต่ำ ใช้ประกอบการร้อง เล่านิทาน ซึ่งมีการไปคล้องกันกับ การแอ่วลาวเป่าแคน ขอชาวภาคกลางด้วย
       2.หมอลำกลอน เป็นหมอลำที่ใช่ผู้แสดง 2 คน หรือ  3 คน เป็นการประชันโต้ตอบ เกี้ยวพาราศรี
อย่างเช่น มีหมอลำ 2คนยืนบนเวที มีแคนอยู่1 เต้า สองคนนั้น อาจเป็น ชาย-ชาย หรือ ชาย-หญิง มีการลำโต้ตาม ไต่ถาม แต่การลำประเภทนี้จะเป็นการลำ โต่ตอบในเรื่อง พทธศาสนาบ้าง และการนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า มาสั่งสอนคนที่รับฟัง เป็นในทอง ที่เรียกว่า กลอนลำ
      3.หมอหมู่ หรือ หมอลำครัว คือการที่การแสดงแต่ละครั้งมีผู้แสดงมากว่า 5 คน การแดงแบบเล่นนิทาน และมีหลายฉาก พร้อมกับสอดแทรกความสนุกสนานไปด้วย
      4.หมอลำเพลิน เป็นหมอลำที่มีจังหวะในการลำเร็วขึ้น เครื่องดนึคือ พิณ ซอ แคน และกลองหาง ใช้ในการให้จังหวะ ลำเพลินที่นิยมใช้แสดงคือ ลำเพลินเรื่องแก้วหน้าม้น และ ขุนแผน
ในปัจจุบันก็มีหมอลำเกิดขึนอีกก็คือหมอลำซิ่ง ซึ่งมีจังหวะที่สะนุกและ เร้าใจ


เรื่องเล่าชาวอีสาน




ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=Ur0eH3_TQt4&feature=related

ครูทองไส ทับถนน



ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=aeI9-98FSTo&feature=related

ดนตรีอีสาน


           




          ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง เพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานนั้นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และมีนิสัยเป็นคนชอบสนุกสนาน จึงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส      การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวันหรือเกิดจากประเพณีตามฤดูกาล โดยจะเห็นได้จาก การแสดงต่างๆ เช่น เซิ้งบุญบั้งไฟ เซิ้งแห่นางแมว การฟ้อน รำ ต่างๆ   ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะชาวอีสาน คือ ลีลาและจังหวะการก้าวท้าว มีลักษณะคล้ายเต้ยแต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดปลายเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของการเซิ้ง    ดนตรีอีสาน ถือว่า เป็นเครื่องดนตรีประจำท้องถิ่นของชาวอีสาน มีการประดิษฐ์จากวัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติ และหาได้ตามท้องถิ่นได้ง่าย ดนตรีพื้นเมืองอีสานสามารถแบ่งออกตามลักษณะของเครื่องดนตรี
 ได้ 4 ประเภท คือ
               1. เครื่องดีด ได้แก่ พิณ
               2. เครื่องสี ได้แก่ ซออีสาน
               3. เครื่องตี ได้แก่ โปงลาง กลองยาว เกราะ ฯลฯ
               4. เครื่องเป่า ได้แก่ แคน  หึน เป็นต้น
      ดนตรีอีสาน ส่วนใหญ่แล้วการบรรเลงจะเป็นลักษณะแบบชาวบ้านไม่มีแบบแผนมากนัก ใช้ในการประกอบการแสดง ในงานรื่นเริง สนุกสนาน หรือ ใช้ในพิธีกรรมของชาวอีสาน

ทีีมา:นายสุรพล เนสุสินธ์  อาจารย์ประจำวิชาดนตรีอีสาน 1
(http://std.kku.ac.th/4632200551/index.html)