วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ดนตรีอีสาน


           




          ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง เพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานนั้นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และมีนิสัยเป็นคนชอบสนุกสนาน จึงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส      การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวันหรือเกิดจากประเพณีตามฤดูกาล โดยจะเห็นได้จาก การแสดงต่างๆ เช่น เซิ้งบุญบั้งไฟ เซิ้งแห่นางแมว การฟ้อน รำ ต่างๆ   ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะชาวอีสาน คือ ลีลาและจังหวะการก้าวท้าว มีลักษณะคล้ายเต้ยแต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดปลายเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของการเซิ้ง    ดนตรีอีสาน ถือว่า เป็นเครื่องดนตรีประจำท้องถิ่นของชาวอีสาน มีการประดิษฐ์จากวัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติ และหาได้ตามท้องถิ่นได้ง่าย ดนตรีพื้นเมืองอีสานสามารถแบ่งออกตามลักษณะของเครื่องดนตรี
 ได้ 4 ประเภท คือ
               1. เครื่องดีด ได้แก่ พิณ
               2. เครื่องสี ได้แก่ ซออีสาน
               3. เครื่องตี ได้แก่ โปงลาง กลองยาว เกราะ ฯลฯ
               4. เครื่องเป่า ได้แก่ แคน  หึน เป็นต้น
      ดนตรีอีสาน ส่วนใหญ่แล้วการบรรเลงจะเป็นลักษณะแบบชาวบ้านไม่มีแบบแผนมากนัก ใช้ในการประกอบการแสดง ในงานรื่นเริง สนุกสนาน หรือ ใช้ในพิธีกรรมของชาวอีสาน

ทีีมา:นายสุรพล เนสุสินธ์  อาจารย์ประจำวิชาดนตรีอีสาน 1
(http://std.kku.ac.th/4632200551/index.html) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น