วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
ลำตัดภาคกลาง
ลำตัด
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู
ประวัติความเป็นมา
ลำตัด เรียกได้ว่า เป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า”ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า”ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลงและทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง
โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้นบัดนี้ชื่อถูกตัดลงไปโดยความกร่อนของภาษาเหลือ เพียงว่า ”ลำตัด” เป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียกง่าย มีความหมายรู้ได้ดีมาก (มนตรี ตราโมด,2518 : 46 – 65) กล่าวคือ ความหมายเดิม “ลำ” แปลว่าเพลงเมื่อนำมารวมกับคำว่า ”ตัด” จึงหมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่นตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่า ลำตัด (ธนู บุญยรัตพันธ์, สัมภาษณ์)
สังคมใดสังคมหนึ่งจะตั้งมั่นและดำรงอยู่ได้อย่างถาวรนั้นจำเป็นจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างของสังคมที่มั่นคงแข็งแรงไม่ว่าจะเป็นโครง สร้างทางการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม (สงบ ส่งเมือง, 2534 : 15) การศึกษาลำตัดซึ่งเป็นกลไกทางสังคมอันหมายถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในระดับท้องถิ่นที่ยังคงความเป็นแบบดั้งเดิม (Tradition)ในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสานความเป็นศิลปวัฒนธรรมที่จะชี้ให้เห็นการดำรงอยู่ในบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย
ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสศิลปะทุกแขนงย่อมได้รับผลกระทบการจะให้คงความเป็นลักษณะเดิม อยู่ตลอดเวลาจึงย่อมเป็นไปไม่ได้กล่าวคือศิลปะพื้นบ้านทั้งมวลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามค่านิยมและอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกซึ่งจะส่งผล ต่อการเลือนหายการขาดความต่อเนื่องและการผิดเพี้ยนจากของเดิมเพราะฉะนั้นการสืบสานและการอนุรักษ์จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ ดังนั้นด้วยแนวคิดดังกล่าว การศึกษาวิจัย ลำตัดในครั้งนี้
จึงจะนำมาซึ่งการรักษาศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้านของชาติให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อชาติผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาเรื่องเพลง พื้นบ้าน ลำตัด เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการละเล่นลำตัด เป็นการรวมเอาเพลงพื้นบ้านหลายชนิดเข้าด้วยกัน การศึกษา รวบรวม และบันทึก “ทำนองเพลง” เพลงลำตัดและของบทเพลงพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในการละเล่นลำตัด
จึงจะเป็นการอนุรักษ์ลักษณะของทำนองเพลงทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบในการละเล่นดังกล่าวนั้นให้คงอยู่เป็นแบบฉบับซึ่งจะเป็น แนวทางในการสืบสานที่ถูกต้องและต่อเนื่องตามแบบแผนอีกทั้งจะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมได้เล็งเห็นถึงความมีคุณค่าของเพลงที่ควรแก่การ สืบทอดและการพัฒนาบนพื้นฐานของความเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แท้จริงเพื่อเป็นพลังสำคัญสำหรับความอยู่รอดของสังคมวัฒนธรรมของชาติไทยเราสืบไป
การสื่อถึงลำตัด
ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิมต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วนๆเพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษีซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ 2 คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญและคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิมการแสดงลำตัดเป็นการเฉีอนคารมกันด้วยเพลง(ลำ)โดยมีการรำประกอบแต่ไม่ได้ เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเกและการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณใน การด้นกลอนสดส่วนการประชันลำตัดระหว่าง2 คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะ
ศิลปินแห่งชาติ
นางประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) พุทธศักราช 2537
แม่ประยูร มีชื่อและนามสกุลจริงว่า นางประยูร ยมเยี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2476 ที่จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันอายุ68ปีท่านมีนิสัยรักการอ่านมาตั้งแต่เด็กสามารถอ่านบทร้อยกรองได้อย่างไพเราะทั้งยังมีความทรงจำดีเยี่ยมเมื่ออายุได้ราว 13-14ปีคุณตาของท่านซึ่งมองเห็นแววว่าท่านน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีได้จึงสนับสนุนให้เอาดีทางด้านการแสดงโดยการไหว้วานคนรู้จักที่ชื่อนายแดงให้ ช่วยหาครูสอนเพลงพื้นบ้านให้
นายแดงจึงได้พาแม่ประยูรไปเรียนกับครูบาง ที่ตำบลบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งครูบางก็ได้สอนการเล่นลำตัดให้จนแม่ประยูรเล่นได้ดี และเริ่มออกแสดงลำตัดเป็นครั้งแรกเมื่อราวปี 2491 ขณะที่มีอายุได้ 15 ปี
ครั้นอายุประมาณ18ปีแม่ประยูรก็ได้สมัครเข้าเล่นลำตัดกับคณะแม่จำรูญซึ่งเป็นลำตัดที่มี ชื่อเสียงมากในสมัยนั้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งแม่จำรูญก็ได้ช่วยถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและลำตัดให้แม่ประยูรอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ยิ่งขึ้น สามารถด้นกลอนสด และแต่งคำร้องได้อย่างเฉียบแหลมคมคาย และได้มีโอกาสออกแสดงเป็นประจำ จนเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
ในช่วงที่ร่วมคณะลำตัดกับแม่จำรูญนั้นแม่ประยูรก็ได้พบกับ“หวังเต๊ะ”และได้ร่วมประชันลำตัดกันอย่างสม่ำเสมอจน กลายเป็นคู่ประชันลำตัดยอดนิยมสูงสุดจากนั้นก็ได้แต่งงานอยู่กินกันจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนก่อนที่จะหย่าขาดจากกันแต่ก็ยังคงแสดงลำตัดร่วมกัน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน(ซึ่งผมก็ได้เล่าความยิ่งใหญ่และโด่งดังของทั้ง 2 ท่านนี้เอาไว้แล้วในฉบับก่อน จึงจะไม่ขอเล่าซ้ำอีก)
นอกจากลำตัดแล้ว แม่ประยูรยังมีความสามารถในการแสดงเพลงพื้นบ้านอีกหลายประเภท ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ และเพลงขอทาน เป็นต้น
ท่านได้ตระเวนออกแสดงเพลงพื้นบ้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งลำตัดไปทั่วประเทศและยังเป็นผู้ริเริ่มใน การนำลำตัดมาจัดทำเป็นเทปคาสเซ็ทท์ และวิดีโอออกจำหน่ายหลายชุด ได้แก่ ชุดจุดเทียนระเบิดถ้ำ ชุดดังระเบิด ชุดเกิดแก่เจ็บตาย และชุดชายสอนหญิง เป็นต้น
คณะหวังเต๊ะ
นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม2468ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง
หวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัวมีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลงพื้นบ้านสามารถ ด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคายเหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผุ้ฟังผมชอมตลอดเวลายากจะหาใครเทียบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันหวังเต๊ะได้แสดงให้มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญสมกับสุนทรียลักษณ ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล
นอกจากนั้นหวังเต๊ะยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531
ที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู
ประวัติความเป็นมา
ลำตัด เรียกได้ว่า เป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า”ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า”ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลงและทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง
โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้นบัดนี้ชื่อถูกตัดลงไปโดยความกร่อนของภาษาเหลือ เพียงว่า ”ลำตัด” เป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียกง่าย มีความหมายรู้ได้ดีมาก (มนตรี ตราโมด,2518 : 46 – 65) กล่าวคือ ความหมายเดิม “ลำ” แปลว่าเพลงเมื่อนำมารวมกับคำว่า ”ตัด” จึงหมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่นตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่า ลำตัด (ธนู บุญยรัตพันธ์, สัมภาษณ์)
สังคมใดสังคมหนึ่งจะตั้งมั่นและดำรงอยู่ได้อย่างถาวรนั้นจำเป็นจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างของสังคมที่มั่นคงแข็งแรงไม่ว่าจะเป็นโครง สร้างทางการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม (สงบ ส่งเมือง, 2534 : 15) การศึกษาลำตัดซึ่งเป็นกลไกทางสังคมอันหมายถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในระดับท้องถิ่นที่ยังคงความเป็นแบบดั้งเดิม (Tradition)ในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสานความเป็นศิลปวัฒนธรรมที่จะชี้ให้เห็นการดำรงอยู่ในบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย
ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสศิลปะทุกแขนงย่อมได้รับผลกระทบการจะให้คงความเป็นลักษณะเดิม อยู่ตลอดเวลาจึงย่อมเป็นไปไม่ได้กล่าวคือศิลปะพื้นบ้านทั้งมวลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามค่านิยมและอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกซึ่งจะส่งผล ต่อการเลือนหายการขาดความต่อเนื่องและการผิดเพี้ยนจากของเดิมเพราะฉะนั้นการสืบสานและการอนุรักษ์จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ ดังนั้นด้วยแนวคิดดังกล่าว การศึกษาวิจัย ลำตัดในครั้งนี้
จึงจะนำมาซึ่งการรักษาศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้านของชาติให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อชาติผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาเรื่องเพลง พื้นบ้าน ลำตัด เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการละเล่นลำตัด เป็นการรวมเอาเพลงพื้นบ้านหลายชนิดเข้าด้วยกัน การศึกษา รวบรวม และบันทึก “ทำนองเพลง” เพลงลำตัดและของบทเพลงพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในการละเล่นลำตัด
จึงจะเป็นการอนุรักษ์ลักษณะของทำนองเพลงทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบในการละเล่นดังกล่าวนั้นให้คงอยู่เป็นแบบฉบับซึ่งจะเป็น แนวทางในการสืบสานที่ถูกต้องและต่อเนื่องตามแบบแผนอีกทั้งจะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมได้เล็งเห็นถึงความมีคุณค่าของเพลงที่ควรแก่การ สืบทอดและการพัฒนาบนพื้นฐานของความเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แท้จริงเพื่อเป็นพลังสำคัญสำหรับความอยู่รอดของสังคมวัฒนธรรมของชาติไทยเราสืบไป
การสื่อถึงลำตัด
ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิมต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วนๆเพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษีซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ 2 คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญและคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิมการแสดงลำตัดเป็นการเฉีอนคารมกันด้วยเพลง(ลำ)โดยมีการรำประกอบแต่ไม่ได้ เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเกและการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณใน การด้นกลอนสดส่วนการประชันลำตัดระหว่าง2 คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะ
ศิลปินแห่งชาติ
นางประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) พุทธศักราช 2537
แม่ประยูร มีชื่อและนามสกุลจริงว่า นางประยูร ยมเยี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2476 ที่จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันอายุ68ปีท่านมีนิสัยรักการอ่านมาตั้งแต่เด็กสามารถอ่านบทร้อยกรองได้อย่างไพเราะทั้งยังมีความทรงจำดีเยี่ยมเมื่ออายุได้ราว 13-14ปีคุณตาของท่านซึ่งมองเห็นแววว่าท่านน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีได้จึงสนับสนุนให้เอาดีทางด้านการแสดงโดยการไหว้วานคนรู้จักที่ชื่อนายแดงให้ ช่วยหาครูสอนเพลงพื้นบ้านให้
นายแดงจึงได้พาแม่ประยูรไปเรียนกับครูบาง ที่ตำบลบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งครูบางก็ได้สอนการเล่นลำตัดให้จนแม่ประยูรเล่นได้ดี และเริ่มออกแสดงลำตัดเป็นครั้งแรกเมื่อราวปี 2491 ขณะที่มีอายุได้ 15 ปี
ครั้นอายุประมาณ18ปีแม่ประยูรก็ได้สมัครเข้าเล่นลำตัดกับคณะแม่จำรูญซึ่งเป็นลำตัดที่มี ชื่อเสียงมากในสมัยนั้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งแม่จำรูญก็ได้ช่วยถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและลำตัดให้แม่ประยูรอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ยิ่งขึ้น สามารถด้นกลอนสด และแต่งคำร้องได้อย่างเฉียบแหลมคมคาย และได้มีโอกาสออกแสดงเป็นประจำ จนเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
ในช่วงที่ร่วมคณะลำตัดกับแม่จำรูญนั้นแม่ประยูรก็ได้พบกับ“หวังเต๊ะ”และได้ร่วมประชันลำตัดกันอย่างสม่ำเสมอจน กลายเป็นคู่ประชันลำตัดยอดนิยมสูงสุดจากนั้นก็ได้แต่งงานอยู่กินกันจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนก่อนที่จะหย่าขาดจากกันแต่ก็ยังคงแสดงลำตัดร่วมกัน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน(ซึ่งผมก็ได้เล่าความยิ่งใหญ่และโด่งดังของทั้ง 2 ท่านนี้เอาไว้แล้วในฉบับก่อน จึงจะไม่ขอเล่าซ้ำอีก)
นอกจากลำตัดแล้ว แม่ประยูรยังมีความสามารถในการแสดงเพลงพื้นบ้านอีกหลายประเภท ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ และเพลงขอทาน เป็นต้น
ท่านได้ตระเวนออกแสดงเพลงพื้นบ้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งลำตัดไปทั่วประเทศและยังเป็นผู้ริเริ่มใน การนำลำตัดมาจัดทำเป็นเทปคาสเซ็ทท์ และวิดีโอออกจำหน่ายหลายชุด ได้แก่ ชุดจุดเทียนระเบิดถ้ำ ชุดดังระเบิด ชุดเกิดแก่เจ็บตาย และชุดชายสอนหญิง เป็นต้น
คณะหวังเต๊ะ
นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม2468ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง
หวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัวมีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลงพื้นบ้านสามารถ ด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคายเหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผุ้ฟังผมชอมตลอดเวลายากจะหาใครเทียบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันหวังเต๊ะได้แสดงให้มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญสมกับสุนทรียลักษณ ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล
นอกจากนั้นหวังเต๊ะยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531
ที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
เพลงบอก มรดกภาคไต้
เพลงบอกเป็นเพลงพื้นเมืองที่นิยมเล่นแพร่หลายที่สุดในสมัยก่อน เมื่อถึงหน้าสงกรานต์ยังไม่มีปฏิทินบอกสงกรานต์แพร่หลายอย่างปัจจุบัน จะมีแม่เพลงนำรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์ออกป่าวประกาศแก่ชาวบ้าน โดยร้องเป็นเพลงพื้นบ้านและมีลูกคู่รับเป็นทำนองเฉพาะ จึงมีชื่อเรียกว่าเพลงบอก
กลอนเพลงบอกดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเพลงเห่ หรือเพลงฉะ บ้างก็เรียกเพลงแปดบท เพลงชนิดนี้จะมีแม่เพลงว่าเป็นแบบกลอนด้น ครั้งละ ๒ วรรค แล้วลูกคู่รับดะ กลอนแปดบทเฟื่องฟูอยู่ทาง นครศรีธรรมราชประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปีที่แล้ว และมีการดัดแปลงมาเป็นลำดับ จนถึงรัชกาลที่ ๕ พระรัตนธัชมุณี เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดระเบียบกฏเกณฑ์กลอนเพลงบอกขึ้นใหม่ โดยจะมีการรับของลูกคู่และอาจแทรกวลีหรือถ้อยคำระหว่างกลอนที่แม่เพลงกำลังว่าอยู่ เพื่อให้ลีลากลอนครึกครื้นสนุกสนาน และช่วยแก้ปัญหาการติดกลอดของแม่เพลงได้ วิธีการนี้ของลูกคู่เรียกว่า "ทอยเพลงบอก"
ในปัจจุบันนอกจากมีการว่าเพลงบอก เพื่อบอกข่าวสงกรานต์แล้ว ยังนำไปเล่นในโอกาสอื่นๆ เช่น บอกข่าวประชาสัมพันธ์งานบุญงานกุศล เพลงบอกร้องบวงสรวงในพิธีกรรมต่างๆ เพลงบอกร้องชา เป็นต้น
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. อุปกรณ์
เพลงบอกคณะหนึ่งมีแม่เพลง ๑ คนและลูกคู่อีก ๔ ถึง ๖ คน มีฉิ่งเป็นดนตรีประกอบเพียงอย่างเดียว การร้องเพลงบอกใช้ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ โดยร้องด้นเป็นกลอนสดแท้ ๆ ใช้ปฏิภาณร้องไปตามเหตุการณ์ที่พบเห็น แม่เพลงต้องมีความรอบรู้ไหวพริบดี และฝึกฝนจนแม่นยำในเชิงกลอน
๒. วิธีการเล่น
สำหรับวิธีการขับเพลงบอก เมื่อแม่เพลงร้องจบวรรคแรกลูกคู่ก็รับครั้งหนึ่งโดยรับว่า "ว่าเอ้ว่าเห้" พร้อม ๆ กับจะต้องคอยตีฉิ่งให้เข้ากับจังหวะ ถ้าหากแม่เพลงว่าวรรคแรกซ้ำอีก ลูกคู่ก็จะรับว่า "ว่าทอยช้าฉ้าเหอ" และเมื่อแม่เพลงว่าไปจนจบบทแล้ว ลูกคู่จะต้องรับวรรคสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกลอนเพลงบอกประชัน ตอนที่ปานบอดได้โต้ตอบกับเพลงบอกรุ่งอันแสดงถึงความสามารถในเชิงเพลงบอก
รุ่ง : กูไม่เป็นเวสสันดร (รับ)) เพราะจะเดือดร้อนที่สุด กูจะเป็นนายเจตบุตร ที่ร่างกายมันคับขัน (รับ)
คอยยิงพุงชูชก (รับ) ที่สกปรกเสียครัน ถือเกณฑ์ขวางไว้ ไม่ให้มึงเข้าไป (รับ)
ปาน : ดีแล้วนายเจตบุตร (รับ) เป็นผู้วิสุทธิ์สามารถ เป็นบ่าวพระยาเจตราช ที่เขาตั้งให้เป็นใหญ่ (รับ)
ถือธนูหน้าไม้ (รับ) คอยทำลายคนเข้าไป เขาตั้งให้เป็นใหญ่ คอยเฝ้าอยู่ปากประตูป่า (รับ)
คนอื่นอื่นมีชื่อเสียง (รับ) เขาได้เลี้ยงวัวควายแต่นายเจตบุตรรุ่งนาย เขาใช้ให้เลี้ยงหมา (รับ)
ตัวอย่างการว่าเพลงบอกดังนี้
(แม่เพลง "รุ่ง") กูไม่เป็นเวสสันดร
(ลูกคู่) ว่าเอ้ว่าเห้ เวสสันดร
(แม่เพลง "รุ่ง") กูไม่เป็นเวสสันดร
(ลูกคู่) ว่าทอยช้าฉ้าเหอ เวสสันดร
(แม่เพลง "รุ่ง") เพราะจะเดือดร้อนที่สุด กูจะเป็นนายเจตบุตรที่ร่างกายมันคับขัน
(ลูกคู่) ที่ร่างกายมันคับขัน กูจะเป็นนายเจตบุตร ที่ร่างกายมันคับขัน
โอกาส/เวลาที่เล่น
๑. เพลงบอก นิยมเล่นกันในวันตรุษสงกรานต์ เป็นการบอกกล่าวป่าวร้องให้ชาวบ้านทุกละแวกได้ทราบว่าถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว โดยเฉพาะรายละเอียดการเปลี่ยนปี หรือการประกาศสงกรานต์ประจำปีซึ่งสมัยก่อนไม่ได้มีการพิมพ์ปฏิทินอย่างเช่นในปัจจุบัน
พอถึงปลายเดือนสี่ย่างเดือนห้า ซึ่งเป็นระยะที่ชาวนาส่วนมากเก็บเกี่ยวขึ้นยุ้งขึ้นฉางเสร็จแล้ว เวลาพลบค่ำตามละแวกบ้านจะได้ยินเสียงเพลงบอกแทบจะกล่าวได้ทุกหมู่บ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกตระเวณตามบ้านใกล้เรือนเคียงโดยมีบุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้านนั้น ๆ เป็นคนนำทาง คอยไปปลุกเจ้าของบ้านให้เปิดประตูรับ
เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูรับ แม่เพลงก็จะขับกลอนเพลงบอกขึ้นในทันที เนื้อความตอนแรกมักจะเป็นบทไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกล่าวชมเชยเจ้าของบ้านตามสมควร เจ้าของบ้านจะเชื้อเชิญขึ้นบนเรือน ยกเอาหมากพลู บุหรี่ เหล้ายาปลาปิ้งออกมาเลี้ยง ตอนนี้เพลงบอกจะว่าเพลงเล่นตำนานสงกรานต์ในปีนั้นให้ฟัง ถ้าเจ้าของบ้านพอใจก็จะให้รางวัล
๒. เพลงบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกข่าวเชิญไปทำบุญกุศลที่นั่นที่นี่ตามเหตุการณ์ จะเห็นได้ว่าเพลงบอกเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการป่าวประกาศเรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบนั่นเอง เหตุผลก็คือในสมัยโบราณคนที่รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้มีน้อยกิจการพิมพ์ก็ไม่แพร่หลาย ข่าวที่ใช้เพลงบอกเป็นสื่อจะได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าการสื่อสารธรรมดา เพราะฟังแล้วเกิดความสนุกด้วย
๓. เพลงบอกประชัน เป็นการโต้เพลงบอกให้ผู้ชมฟัง โดยการจัดเวที เพื่อประชันโต้ตอบ ไม่มีการกำหนดหัวข้อและเวลา แล้วแต่ใครจะหยิบยกเรื่องอะไรมาว่า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบ และต้องว่าในทำนองข่มกัน หาทางโจมตีและกล่าวแก้ได้ทันควัน การตัดสินแพ้ชนะใช้เสียงผู้ชมเป็นหลัก โดยฟังจากเสียงโห่หรือโต้กันจนอีกฝ่ายหนึ่งยอมแพ้
คุณค่าและแนวคิด
การเล่นเพลงบอกให้คุณค่าดังนี้
๑. เป็นการใช้ภูมิปัญญาเพื่อประชาสัมพันธ์ประกาศบอกข่าวแก่ชาวบ้าน ในสมัยที่การสื่อสารยังไม่เจริญและไม่มีปฏิทินบอกวันเหมือนอย่างในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์และข่าวต่าง ๆ
๒. น้ำเสียง ถ้อยคำในการว่าเพลงบอก ให้ความครึกครื้นสนุกสนาน ข่าวที่มากับเพลงบอก จึงได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าบอกข่าวธรรมดา ปัจจุบันเพลงบอกจึงนำมาใช้บอกบุญ โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง และเชิญชวนให้คนไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง
๓. นักว่ากลอนได้แสดงความสามารถในกลอนปฏิภาณ และศิลปะในการขับกลอน การประชันอวดฝีปากในเชิงกลอน ผู้ว่ากลอนต้องมีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด หลักแหลม ไหวพริบดี และแม่นยำในเชิงกลอน นับเป็นวิธีการพัฒนาความรู้ของชาวบ้านได้อีกวิธีการหนึ่ง
ที่มา:http://www.moradokthai.com/plangbok.htm
ประโมทัย: หนังตะลุงอีสาน”
ประโมทัย: หนังตะลุงอีสาน”
โดยคณะประกาศสามัคคี จ. ร้อยเอ็ด ร่วมสาธิตโดย อ.ชุมเดช เดชภิมล (ม. มหาสารคาม)
ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ชุมเดช เดชภิมล ศิลปินนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ผู้คลุกคลีอยู่กับหนังตะลุงอีสานกว่า ๒๐ ปี สรุปว่า หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ดมีต้นแบบจากหนังตะลุงภาคใต้และภาคกลาง โดยรับช่วงมาจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี เราอาจแบ่งหนังตะลุงอีสานออกได้เป็นอีก 2 กลุ่มตามเนื้อเรื่องที่นิยมเล่น คือ กลุ่มที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ และกลุ่มที่เล่นเรื่องสินไซ (สังข์ศิลป์ไชย)
กลุ่มที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ยังคงการแสดงตามแบบโขนละครไว้ ดำเนินเรื่องโดยใช้บทพากย์และบทเจรจาเป็นกลอนบทละคร ดนตรีหลักคือระนาด เครื่องให้จังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ กลอง หนังตะลุงกลุ่มนี้แพร่หลายอยู่ในแถบจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนกลุ่มที่นิยมเล่นเรื่องสินไซ นิยมดำเนินเรื่องแบบหมอลำหมู่ บทพากย์และบทเจรจาเป็นกลอนลำ ดนตรีหลักคือ แคน เครื่องให้จังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ และกลอง หนังตะลุงอีสานในกลุ่มนี้แพร่หลายอยู่ในแถบจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น สำหรับหนังตะลุงอีสานคณะประกาศสามัคคีที่มาแสดงในวันนี้จัดอยู่ในกลุ่มแรก และเล่นอยู่เพียงตอนเดียวมาตั้งแต่เริ่มคณะคือ “ศึกไมยราพ”
การแสดงเริ่มจาก การไหว้ครู การโหมโรง การประกาศชื่อเรื่อง การออกรูปฤาษี การเชิดตามเนื้อเรื่อง และการจบ ทำนองพากย์หนังประโมทัยประกอบด้วย ทำนองร้องที่เป็นภาษาภาคกลาง มีเอื้อนเกริ่นนำ และทำนองร้องแบบหมอลำที่เป็นภาษาอีสาน บางตอนมีลิเกลาว เสภาอีสาน และเพลงไทยเดิมประกอบ บทเจรจาที่ใช้แบ่งตามฐานะของตัวละครและโครงสร้างทางอำนาจในสังคม ผู้มีอำนาจยศศักดิ์ เช่น ตัวพระตัวนาง ยักษ์ เจรจาเป็นภาษากลาง บทเจรจาภาษาถิ่นอีสานใช้กับตัวตลก เสนา และบริวาร หนังประโมทัยมีลักษณะเด่นที่อารมณ์ขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เชิด โดยจะแทรกอารมณ์ขันในเนื้อเรื่องและบทเจรจา ซึ่งสามารถออกนอกเรื่องได้
หัวหน้าคณะหนังบางคณะอาจเป็นเพียงตัวตลก เพราะตัวตลกในหนังประโมทัยถือว่าเป็นตัวเด่นที่สุดในการแสดง (นายประกาศ เหิรเมฆ หัวหน้าคณะคนเก่าของคณะประกาศสามัคคี เล่นตัวตลกบักป่อง มีชื่อเสียงจนติดปากคนร้อยเอ็ดจนเรียกหนังบักป่องบักแก้ว) กล่าวได้ว่า คณะประกาศสามัคคีในปัจจุบันมุ่งแสดงเฉพาะตลก เรื่องดำเนินไปเพียงเพื่อให้ตัวตลกได้เปลี่ยนฉากแสดงออกไปเรื่อยๆ มีตลกแทรกมากกว่าเรื่องที่มีอยู่ และตัวหนังที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดของคณะประกาศสามัคคีในปัจจุบันก็คือ ปลัดตื้อ นั่นเอง
ที่มา: http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=107&category_id=7
โดยคณะประกาศสามัคคี จ. ร้อยเอ็ด ร่วมสาธิตโดย อ.ชุมเดช เดชภิมล (ม. มหาสารคาม)
ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ชุมเดช เดชภิมล ศิลปินนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ผู้คลุกคลีอยู่กับหนังตะลุงอีสานกว่า ๒๐ ปี สรุปว่า หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ดมีต้นแบบจากหนังตะลุงภาคใต้และภาคกลาง โดยรับช่วงมาจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี เราอาจแบ่งหนังตะลุงอีสานออกได้เป็นอีก 2 กลุ่มตามเนื้อเรื่องที่นิยมเล่น คือ กลุ่มที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ และกลุ่มที่เล่นเรื่องสินไซ (สังข์ศิลป์ไชย)
กลุ่มที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ยังคงการแสดงตามแบบโขนละครไว้ ดำเนินเรื่องโดยใช้บทพากย์และบทเจรจาเป็นกลอนบทละคร ดนตรีหลักคือระนาด เครื่องให้จังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ กลอง หนังตะลุงกลุ่มนี้แพร่หลายอยู่ในแถบจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนกลุ่มที่นิยมเล่นเรื่องสินไซ นิยมดำเนินเรื่องแบบหมอลำหมู่ บทพากย์และบทเจรจาเป็นกลอนลำ ดนตรีหลักคือ แคน เครื่องให้จังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ และกลอง หนังตะลุงอีสานในกลุ่มนี้แพร่หลายอยู่ในแถบจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น สำหรับหนังตะลุงอีสานคณะประกาศสามัคคีที่มาแสดงในวันนี้จัดอยู่ในกลุ่มแรก และเล่นอยู่เพียงตอนเดียวมาตั้งแต่เริ่มคณะคือ “ศึกไมยราพ”
การแสดงเริ่มจาก การไหว้ครู การโหมโรง การประกาศชื่อเรื่อง การออกรูปฤาษี การเชิดตามเนื้อเรื่อง และการจบ ทำนองพากย์หนังประโมทัยประกอบด้วย ทำนองร้องที่เป็นภาษาภาคกลาง มีเอื้อนเกริ่นนำ และทำนองร้องแบบหมอลำที่เป็นภาษาอีสาน บางตอนมีลิเกลาว เสภาอีสาน และเพลงไทยเดิมประกอบ บทเจรจาที่ใช้แบ่งตามฐานะของตัวละครและโครงสร้างทางอำนาจในสังคม ผู้มีอำนาจยศศักดิ์ เช่น ตัวพระตัวนาง ยักษ์ เจรจาเป็นภาษากลาง บทเจรจาภาษาถิ่นอีสานใช้กับตัวตลก เสนา และบริวาร หนังประโมทัยมีลักษณะเด่นที่อารมณ์ขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เชิด โดยจะแทรกอารมณ์ขันในเนื้อเรื่องและบทเจรจา ซึ่งสามารถออกนอกเรื่องได้
หัวหน้าคณะหนังบางคณะอาจเป็นเพียงตัวตลก เพราะตัวตลกในหนังประโมทัยถือว่าเป็นตัวเด่นที่สุดในการแสดง (นายประกาศ เหิรเมฆ หัวหน้าคณะคนเก่าของคณะประกาศสามัคคี เล่นตัวตลกบักป่อง มีชื่อเสียงจนติดปากคนร้อยเอ็ดจนเรียกหนังบักป่องบักแก้ว) กล่าวได้ว่า คณะประกาศสามัคคีในปัจจุบันมุ่งแสดงเฉพาะตลก เรื่องดำเนินไปเพียงเพื่อให้ตัวตลกได้เปลี่ยนฉากแสดงออกไปเรื่อยๆ มีตลกแทรกมากกว่าเรื่องที่มีอยู่ และตัวหนังที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดของคณะประกาศสามัคคีในปัจจุบันก็คือ ปลัดตื้อ นั่นเอง
ที่มา: http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=107&category_id=7
ประวัติหมอลำ
ประวัติหมอลำ
การลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 - 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า "หมอลำหมู่" ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2510
หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย
คำว่า "ลำ" มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า กลอนลำ
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"
วิวัฒนาการของหมอลำ
ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม โดยเรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น
เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ
จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ดังนี้
ลำโบราณ
เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ
ลำคู่หรือลำกลอน
เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้
ลำหมู่
เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ
ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี
ลำซิ่ง
หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"
การลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 - 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า "หมอลำหมู่" ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2510
หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย
คำว่า "ลำ" มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า กลอนลำ
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"
วิวัฒนาการของหมอลำ
ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม โดยเรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น
เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ
จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ดังนี้
ลำโบราณ
เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ
ลำคู่หรือลำกลอน
เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้
ลำหมู่
เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ
ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี
ลำซิ่ง
หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"
กันตรึม จ.สุรินทร์
กันตรึม จ.สุรินทร์
เป็นการละเล่นที่มีมานาน แรกเริ่มนิยมเล่นประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ รักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรมดังกล่าว ยังนิยมกันมาถึงทุกวันนี้
มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น
กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู
ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว สัมผัสระหว่างบท บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะ ประมาณ 228 ทำนองเพลง มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์ อาศัยการจดจำเท่านั้น คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)
กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541 งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า 51)
ที่มา:http://surin108.com/web/blog/2009/10/07/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%A1/
เป็นการละเล่นที่มีมานาน แรกเริ่มนิยมเล่นประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ รักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรมดังกล่าว ยังนิยมกันมาถึงทุกวันนี้
มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น
กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู
ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว สัมผัสระหว่างบท บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะ ประมาณ 228 ทำนองเพลง มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์ อาศัยการจดจำเท่านั้น คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)
กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541 งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า 51)
ที่มา:http://surin108.com/web/blog/2009/10/07/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%A1/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)