วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
เพลงอีแซว
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงอีแซว
เพลงอีแซว เป็นเพลงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีกำเนิดและเป็นที่ยอมรับกันว่าเพลงนี้เกิดในถิ่นสุพรรณบุรีโดยตรง แพร่หลายในเขตจังหวัดสุพรรณ บุรีและใกล้เคียง เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (เพลงโต้ตอบ) ที่ หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ เพลงอีแซว แต่ก่อนเรียก เพลงยั่วเพราะร้องยั่วกัน คล้ายเพลงกลองยาว ต่อมามีผู้เอาแคนไปขายที่สุพรรณ ก็เอาแคนมาเป่าประกอบด้วย เรียกกันว่า เพลงแคน เวลาร้องใช้มือตบ เป็นจังหวะบางคนจึงเรียก เพลงตบแผละ จากนั้น ทำนองและเนื้อร้องก็ค่อย ๆ มีแบบเป็นของตัวเองขึ้น จึงมาเรียกเพลงอีแซว มีการยืมเนื้อจากเพลงฉ่อยทางอ่างทองมาร้องเป็นเรื่องยาวขึ้น เหตุที่เรียกเพลงอีแซวนั้น ก็สันนิษฐานกันไป ที่น่าเชื่อก็คือ พ่อบัวเผื่อน สันนิษฐานว่า "เพราะยืนร้องแซวกันทั้งคืน" กระทั่งเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเสื้อผ้าของผู้แสดง โดยจะนุ่งโจงกระเบนทั้งฝ่ายชายและหญิง ส่วนเสื้อนั้น ฝ่ายหญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นคอกลมหรือ คอเหลี่ยมกว้าง ฝ่ายชายมักจะ ใส่เสื้อแขนสั้นคอกลม สร้าง สรรค์ความสะดุดตาด้วยสี ที่ฉูดฉาดเพื่อดึงดูดใจผู้ชม ด้วยความนิยมในเพลงอีแซวทำให้สามารถแสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาสเพียงแต่ จะไม่มีการแสดงในงานแต่งงาน วงอีแซวจะไม่มีข้อกำหนดเรื่อง จำนวนผู้แสดง แต่ในวงหนึ่งๆ จะมีการจัดสรรแหน่งหน้าที่ ของผู้แสดงประกอบด้วย พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย) แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง) คอต้น (ผู้ร้องเพลงโต้ตอบคนแรก) คอสอง , คอสาม (ผู้ร้องคนที่สองและ สาม) และ ลูกคู่ (จำนวนไม่จำกัด มีหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำความ ร้องสอดแทรกขัดจังหวะ เพื่อความสนุกสนาน)
เพลงอีแซวมีจะดำเนินการแสดงโดยมีเนื้อหาเรียงลำดับ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู บทเกริ่น บทประ และจบท้ายด้วยบทจาก หรือบทลา
๑. บทไหว้ครู เป็นบทกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้มีพระคุณ ได้แก่ พระรัตนตรัย เทวดา ภูตผี พ่อแม่ ครูอาจารย์ ( ครูเพลงของอีแซวจะมีสองแบบ “ ครูเพลงที่เป็นจิตวิญญาณ ” เช่นพระนารายณ์ ฤาษีหรือพ่อแก่ และครูอีกประเภทคือ “ ครู เพลงที่เป็นมนุษย์ ” นอกจากครูเพลงทั้งสองแบบแล้ว ก็มี “ครู พักลักจำ” ซึ่งหมายถึงครูที่ผู้ร้องไม่ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ แต่ได้ แอบจดจำเพลงหรือลีลา ) การร้องบทไหว้ครูจะต้องนั่งกับพื้นร้อง โดยมี “พาน กำนล” หรือพานไหว้ครูวางไว้ข้างหน้า หรือยกถือไว้ในขณะร้อง โดยพ่อเพลงจะร้องก่อน ตามด้วยแม่เพลง
๒. บทเกริ่น เป็นบทร้องของฝ่ายชายและหญิงก่อนที่จะ มาพบกันตามเหตุการณ์ที่สมมุติไว้ บทเกริ่นเริ่มต้นภายหลังจาก บทไหว้ครูจบลง ผู้แสดงทั้งหมดจะลุกขึ้นยืนร้อง “เพลงออกตัว” มีเนื้อหาทักทายกัน แนะนำตัว ฝากตัวกับผู้ชม ตามด้วย “เพลง แต่งตัว” หากสมมุติเหตุการณ์เป็นการชักชวนกันไปเที่ยวบ้าน สาวๆ พอมาถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้วจะร้อง “เพลงปลอบ” ซึ่งเป็น เพลงที่ชักชวนให้ฝ่ายหญิงออกมาร้องเพลงโต้ตอบกัน
๓. เพลงประ หมายถึงการร้องปะทะคารมกันของทั้งสอง ฝ่าย เพลงประของวงอีแซวมีหลายแบบ ได้แก่ แนวรัก ( การเกี้ยว พาราสี ) แนวประลอง ( การทดสอบฝีปากหรือทดสอบภูมิปัญญา ) และแนวเพลงเรื่อง ( ดำเนินเรื่องราวตามเรื่องของ นิทาน นิยาย หรือวรรณกรรม )
๔. บทจาก หรือ บทลา เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อ แสดงถึงความอาลัยคู่เล่นเพลง ผู้ชม หรือ กล่าวอำลาผู้ชม หรือเจ้าภาพผู้ว่าจ้างให้มาแสดง
๕. การอวยพร เป็นการร้องขอบคุณเจ้าภาพ และ ผู้ชม รวมทั้งขอบคุณผู้ให้รางวัล
ทำนองเนื้อร้องเดิมจะร้องลักษณะนี้
ชาย “ตั้งวงไว้เผื่อ ปูเสื่อไว้ท่า เอย…..
จะให้วงฉันรา ซะแล้วทำไม (จะให้วงฉันราชะแล้วทำไม)
รักจะเล่นก็ให้เต้นเข้ามาเอย…….
คนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม (รับคนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม”)
มาในปัจจุบันทำนองจะผิดไป และภายหลังคำ ซะแล้ว จะเหลือเพียง แล้ว ต่อมาสันนิษฐานว่า นายกร่าย พ่อเพลงรุ่นเดียวกับพ่อบัวเผื่อน หรือหวังเต๊ะ นักลำตัดชั้นครูได้ดัดแปลงทำนองเพลงอีแซวเป็นอีกทำนองหนึ่ง อย่างที่ขึ้นต้นว่า “เอ้ามาเถิดมากระไรแม่มา ๆ …..”พ่อไสว เป็นผู้เอาตะโพนสองหน้าเข้าไปตีประกอบเป็นเครื่องให้จังหวะเพิ่ม จากฉิ่ง กรับ และการปรบมืออีกเพลงอีแซวมีจังหวะกระชั้นเร็วกว่าเพลงฉ่อยหนึ่งเท่า คนร้องจึงต้องจำเพลงหลักให้แม่และมีปฏิภาณว่องไว ไม่อย่างนั้นก็ร้องไม่ทัน
ตัวอย่างเพลงอีแซวของพ่อไสว
จากนาง (เพลงอีแซวของพ่อไสว)
เอย…พี่น้องป้าน้าจะต้องลาแน่วแน่เอย….. ปากลาตาแลยังหลงอาลัย
มันเกิดกรรมปางก่อนต้องจากก่อนไกลกัน เกิดกรรมกางกั้นจะไม่ได้กอดก่าย
แม่คู่ข้าเคียงข้าง อย่าระคายเคืองขุ่น ต้องจากแน่แม่คุณเอยแม่ข่อยใบคาย
มันมีข้อขัดข้องไม่ได้ประคองเคียงข้าง รักพี่ตกค้างไม่รู้ไปฝากไว้กะใคร
รักใครรักเขามันไม่เท่ารักน้อง แม่คู่เคยประคองแม่แก้วขาวปานไข่
อีแม่คู่เคยเข็น เห็นจะเป็นคู่เขา พี่มานั่งกอดเข่าแทบจะเป็นไข้
น้องจะมีคู่ ให้นึกถึงข้า (เอย…..นึกถึงข้า)
เนื่องจากช่วงเวลาที่เล่นเป็นฤดูน้ำหลาก เป็นช่วงทำนาบรรดาพ่อเพลงแม่เพลงจากถิ่นต่าง ๆ ก็จะมาชุมนุมกัน พวกที่มาทางบกก็เล่นเพลงอีแซว ด้วยเหตุเป็นเพลงเร็ว จังหวะกระชั้น ผู้ร้องมีปฏิภาณดีหรือที่เรียกว่า มุติโตแตกฉาน ซึ่งสะท้อนภาพสังคม สอดแทรกมุขต่าง ๆ ลงในบทร้อง มีข้อความเสียดสี กินใจ สั่งสอน และบทตลก ลงท้ายด้วยการขออภัยที่ได้ล่วงเกิน จากนั้นก็ให้พรซึ่งกันและกัน ทั้งเจ้าภาพและผู้ฟัง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
พ่อเพลงและแม่เพลง จะเริ่มต้นโดยการกล่าวบทไหว้ครู จากนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มเรียกว่า ปลอบ ฝ่ายหญิงจะว่าบท รับแขก จากนั้นฝ่ายชายจะวกเข้าหา บทเกี้ยว ฝ่ายหญิงจะรับด้วยบท เล่นตัว ฝ่ายชายจะว่าบท ออด ฝ่ายหญิงจะตอบด้วยบทเสียแค่นไม่ได้ รับรัก จากนั้นฝ่ายหญิงจะขึ้นบท เกี่ยง ให้มาสู่ขอฝ่ายชายจะขอพาหนีพอหนีตามกันก็จะถึงบทชมนกชมไม้
โอกาสและเวลาการเล่น
เล่นในเวลาเทศกาลงานสำคัญ เช่น ตรุษสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ งานมนัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์เดือน๑๒งานทอดกฐินรวมทั้งงานเกี่ยวข้าว
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=380
เพลงอีแซว เป็นเพลงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีกำเนิดและเป็นที่ยอมรับกันว่าเพลงนี้เกิดในถิ่นสุพรรณบุรีโดยตรง แพร่หลายในเขตจังหวัดสุพรรณ บุรีและใกล้เคียง เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (เพลงโต้ตอบ) ที่ หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ เพลงอีแซว แต่ก่อนเรียก เพลงยั่วเพราะร้องยั่วกัน คล้ายเพลงกลองยาว ต่อมามีผู้เอาแคนไปขายที่สุพรรณ ก็เอาแคนมาเป่าประกอบด้วย เรียกกันว่า เพลงแคน เวลาร้องใช้มือตบ เป็นจังหวะบางคนจึงเรียก เพลงตบแผละ จากนั้น ทำนองและเนื้อร้องก็ค่อย ๆ มีแบบเป็นของตัวเองขึ้น จึงมาเรียกเพลงอีแซว มีการยืมเนื้อจากเพลงฉ่อยทางอ่างทองมาร้องเป็นเรื่องยาวขึ้น เหตุที่เรียกเพลงอีแซวนั้น ก็สันนิษฐานกันไป ที่น่าเชื่อก็คือ พ่อบัวเผื่อน สันนิษฐานว่า "เพราะยืนร้องแซวกันทั้งคืน" กระทั่งเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเสื้อผ้าของผู้แสดง โดยจะนุ่งโจงกระเบนทั้งฝ่ายชายและหญิง ส่วนเสื้อนั้น ฝ่ายหญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นคอกลมหรือ คอเหลี่ยมกว้าง ฝ่ายชายมักจะ ใส่เสื้อแขนสั้นคอกลม สร้าง สรรค์ความสะดุดตาด้วยสี ที่ฉูดฉาดเพื่อดึงดูดใจผู้ชม ด้วยความนิยมในเพลงอีแซวทำให้สามารถแสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาสเพียงแต่ จะไม่มีการแสดงในงานแต่งงาน วงอีแซวจะไม่มีข้อกำหนดเรื่อง จำนวนผู้แสดง แต่ในวงหนึ่งๆ จะมีการจัดสรรแหน่งหน้าที่ ของผู้แสดงประกอบด้วย พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย) แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง) คอต้น (ผู้ร้องเพลงโต้ตอบคนแรก) คอสอง , คอสาม (ผู้ร้องคนที่สองและ สาม) และ ลูกคู่ (จำนวนไม่จำกัด มีหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำความ ร้องสอดแทรกขัดจังหวะ เพื่อความสนุกสนาน)
เพลงอีแซวมีจะดำเนินการแสดงโดยมีเนื้อหาเรียงลำดับ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู บทเกริ่น บทประ และจบท้ายด้วยบทจาก หรือบทลา
๑. บทไหว้ครู เป็นบทกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้มีพระคุณ ได้แก่ พระรัตนตรัย เทวดา ภูตผี พ่อแม่ ครูอาจารย์ ( ครูเพลงของอีแซวจะมีสองแบบ “ ครูเพลงที่เป็นจิตวิญญาณ ” เช่นพระนารายณ์ ฤาษีหรือพ่อแก่ และครูอีกประเภทคือ “ ครู เพลงที่เป็นมนุษย์ ” นอกจากครูเพลงทั้งสองแบบแล้ว ก็มี “ครู พักลักจำ” ซึ่งหมายถึงครูที่ผู้ร้องไม่ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ แต่ได้ แอบจดจำเพลงหรือลีลา ) การร้องบทไหว้ครูจะต้องนั่งกับพื้นร้อง โดยมี “พาน กำนล” หรือพานไหว้ครูวางไว้ข้างหน้า หรือยกถือไว้ในขณะร้อง โดยพ่อเพลงจะร้องก่อน ตามด้วยแม่เพลง
๒. บทเกริ่น เป็นบทร้องของฝ่ายชายและหญิงก่อนที่จะ มาพบกันตามเหตุการณ์ที่สมมุติไว้ บทเกริ่นเริ่มต้นภายหลังจาก บทไหว้ครูจบลง ผู้แสดงทั้งหมดจะลุกขึ้นยืนร้อง “เพลงออกตัว” มีเนื้อหาทักทายกัน แนะนำตัว ฝากตัวกับผู้ชม ตามด้วย “เพลง แต่งตัว” หากสมมุติเหตุการณ์เป็นการชักชวนกันไปเที่ยวบ้าน สาวๆ พอมาถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้วจะร้อง “เพลงปลอบ” ซึ่งเป็น เพลงที่ชักชวนให้ฝ่ายหญิงออกมาร้องเพลงโต้ตอบกัน
๓. เพลงประ หมายถึงการร้องปะทะคารมกันของทั้งสอง ฝ่าย เพลงประของวงอีแซวมีหลายแบบ ได้แก่ แนวรัก ( การเกี้ยว พาราสี ) แนวประลอง ( การทดสอบฝีปากหรือทดสอบภูมิปัญญา ) และแนวเพลงเรื่อง ( ดำเนินเรื่องราวตามเรื่องของ นิทาน นิยาย หรือวรรณกรรม )
๔. บทจาก หรือ บทลา เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อ แสดงถึงความอาลัยคู่เล่นเพลง ผู้ชม หรือ กล่าวอำลาผู้ชม หรือเจ้าภาพผู้ว่าจ้างให้มาแสดง
๕. การอวยพร เป็นการร้องขอบคุณเจ้าภาพ และ ผู้ชม รวมทั้งขอบคุณผู้ให้รางวัล
ทำนองเนื้อร้องเดิมจะร้องลักษณะนี้
ชาย “ตั้งวงไว้เผื่อ ปูเสื่อไว้ท่า เอย…..
จะให้วงฉันรา ซะแล้วทำไม (จะให้วงฉันราชะแล้วทำไม)
รักจะเล่นก็ให้เต้นเข้ามาเอย…….
คนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม (รับคนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม”)
มาในปัจจุบันทำนองจะผิดไป และภายหลังคำ ซะแล้ว จะเหลือเพียง แล้ว ต่อมาสันนิษฐานว่า นายกร่าย พ่อเพลงรุ่นเดียวกับพ่อบัวเผื่อน หรือหวังเต๊ะ นักลำตัดชั้นครูได้ดัดแปลงทำนองเพลงอีแซวเป็นอีกทำนองหนึ่ง อย่างที่ขึ้นต้นว่า “เอ้ามาเถิดมากระไรแม่มา ๆ …..”พ่อไสว เป็นผู้เอาตะโพนสองหน้าเข้าไปตีประกอบเป็นเครื่องให้จังหวะเพิ่ม จากฉิ่ง กรับ และการปรบมืออีกเพลงอีแซวมีจังหวะกระชั้นเร็วกว่าเพลงฉ่อยหนึ่งเท่า คนร้องจึงต้องจำเพลงหลักให้แม่และมีปฏิภาณว่องไว ไม่อย่างนั้นก็ร้องไม่ทัน
ตัวอย่างเพลงอีแซวของพ่อไสว
จากนาง (เพลงอีแซวของพ่อไสว)
เอย…พี่น้องป้าน้าจะต้องลาแน่วแน่เอย….. ปากลาตาแลยังหลงอาลัย
มันเกิดกรรมปางก่อนต้องจากก่อนไกลกัน เกิดกรรมกางกั้นจะไม่ได้กอดก่าย
แม่คู่ข้าเคียงข้าง อย่าระคายเคืองขุ่น ต้องจากแน่แม่คุณเอยแม่ข่อยใบคาย
มันมีข้อขัดข้องไม่ได้ประคองเคียงข้าง รักพี่ตกค้างไม่รู้ไปฝากไว้กะใคร
รักใครรักเขามันไม่เท่ารักน้อง แม่คู่เคยประคองแม่แก้วขาวปานไข่
อีแม่คู่เคยเข็น เห็นจะเป็นคู่เขา พี่มานั่งกอดเข่าแทบจะเป็นไข้
น้องจะมีคู่ ให้นึกถึงข้า (เอย…..นึกถึงข้า)
เนื่องจากช่วงเวลาที่เล่นเป็นฤดูน้ำหลาก เป็นช่วงทำนาบรรดาพ่อเพลงแม่เพลงจากถิ่นต่าง ๆ ก็จะมาชุมนุมกัน พวกที่มาทางบกก็เล่นเพลงอีแซว ด้วยเหตุเป็นเพลงเร็ว จังหวะกระชั้น ผู้ร้องมีปฏิภาณดีหรือที่เรียกว่า มุติโตแตกฉาน ซึ่งสะท้อนภาพสังคม สอดแทรกมุขต่าง ๆ ลงในบทร้อง มีข้อความเสียดสี กินใจ สั่งสอน และบทตลก ลงท้ายด้วยการขออภัยที่ได้ล่วงเกิน จากนั้นก็ให้พรซึ่งกันและกัน ทั้งเจ้าภาพและผู้ฟัง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
พ่อเพลงและแม่เพลง จะเริ่มต้นโดยการกล่าวบทไหว้ครู จากนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มเรียกว่า ปลอบ ฝ่ายหญิงจะว่าบท รับแขก จากนั้นฝ่ายชายจะวกเข้าหา บทเกี้ยว ฝ่ายหญิงจะรับด้วยบท เล่นตัว ฝ่ายชายจะว่าบท ออด ฝ่ายหญิงจะตอบด้วยบทเสียแค่นไม่ได้ รับรัก จากนั้นฝ่ายหญิงจะขึ้นบท เกี่ยง ให้มาสู่ขอฝ่ายชายจะขอพาหนีพอหนีตามกันก็จะถึงบทชมนกชมไม้
โอกาสและเวลาการเล่น
เล่นในเวลาเทศกาลงานสำคัญ เช่น ตรุษสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ งานมนัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์เดือน๑๒งานทอดกฐินรวมทั้งงานเกี่ยวข้าว
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=380
รำตังหวาย
ลำตังหวาย Lum tung wai
การฟ้อนตังหวาย ฟ้อนตังหวายนั่นมีที่มาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีความเชื่อและยึดมั่นในการ นับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่าสิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถ จะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่าสิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น
จึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด “ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น” ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ “ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย” แต่ต่อมาคำว่า “ตั้งถวายฟ้อนถวาย” คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า “ตั้งหวาย” หรือ “ตังหวาย”
2 ฟ้อนตังหวายกับลำตังหวาย ลำตังหวายเป็นทำนองลำของหมอลำในแคว้นสวันนะเขต คำว่า ตังหวาย น่าจะมาจากคำว่า “ตั่งหวาย” ซึ่งในสูจิบัตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของคณะศิลปินและกายกรรมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้คำว่า “ขับลำตั่งหวาย” คำว่า “ตั่งหวาย” ถ้าพิจารณาตามความหมายของคำแล้ว คำว่า “ตั่ง” หมายถึงที่สำหรับนั่งไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น “ตั่งหวาย” น่าจะหมายถึง ที่นั่งที่ทำมาจากหวาย
จึงสันนิษฐานว่า การลำตั่งหวายเป็นทำนองลำที่นิยมลำของหมอลำในหมู่บ้านที่มีอาชีพผลิตตั่ง หวายออกจำหน่าย แต่เมื่อทำนองลำนี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยจึงกลายมาเป็น “ลำตังหวาย” ลำตังหวายเป็นทำนองลำที่มีความเร้าใจ สนุกสนานและมีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะของกลอนลำจะมีการยกย่องทั้งฝ่ายชายและหญิง กลอนลำมีลักษณะโต้ตอบกัน จะมีคำสร้อยลงท้าย เช่นคำว่า หนาคิงกลม คนงามเอย ซำบายดี และคำขึ้นต้นว่า ชายเอย นางเอย
การฟ้อนที่อ่อนช้อยของตังหวายนี้ นายประดิษฐ์ แก้วชิณ ได้พบเห็นการแสดงที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่ามีลีลาการแสดงอ่อนช้อยงดงามน่าจะฟื้นฟูจึงได้นำมาทดลองฝึกให้เด็กรำ เห็นว่าเหมาะสมดี จึงได้นำชุดฟ้อนนี้ออกแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมือง ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมา อาจารย์ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี นำต้นแบบมาดัดแปลงท่ารำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้ววงโปงลางวิทยาลัยครูอุบลราชธานีได้นำออกมาแสดงจนเป็นที่นิยมและเป็น เอกลักษณ์ของวงมาจนบัดนี้
เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนเครื่องแต่งกายนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ
1. สวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้าถุงมัดหมี่คาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวย ใช้ฝ้ายสีขาวมัดผมคล้ายอุบะ
2. ใช้ผ้าแพรวารัดอกทิ้งชายทั้งสองข้าง นุ่งผ้าถุงมัดหมี่ยาวครึ่งแข้ง เกล้าผมมวยใช้ผ้ามัดหรือใช้ดอกไม้ประดับรอบมวยผม
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (โปงลาง) ทำนองลำตังหวาย
ที่มา:http://www.baanmaha.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-lum-tung-wai/
การฟ้อนตังหวาย ฟ้อนตังหวายนั่นมีที่มาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
1 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีความเชื่อและยึดมั่นในการ นับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่าสิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถ จะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่าสิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น
จึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด “ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น” ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ “ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย” แต่ต่อมาคำว่า “ตั้งถวายฟ้อนถวาย” คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า “ตั้งหวาย” หรือ “ตังหวาย”
2 ฟ้อนตังหวายกับลำตังหวาย ลำตังหวายเป็นทำนองลำของหมอลำในแคว้นสวันนะเขต คำว่า ตังหวาย น่าจะมาจากคำว่า “ตั่งหวาย” ซึ่งในสูจิบัตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของคณะศิลปินและกายกรรมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้คำว่า “ขับลำตั่งหวาย” คำว่า “ตั่งหวาย” ถ้าพิจารณาตามความหมายของคำแล้ว คำว่า “ตั่ง” หมายถึงที่สำหรับนั่งไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น “ตั่งหวาย” น่าจะหมายถึง ที่นั่งที่ทำมาจากหวาย
จึงสันนิษฐานว่า การลำตั่งหวายเป็นทำนองลำที่นิยมลำของหมอลำในหมู่บ้านที่มีอาชีพผลิตตั่ง หวายออกจำหน่าย แต่เมื่อทำนองลำนี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยจึงกลายมาเป็น “ลำตังหวาย” ลำตังหวายเป็นทำนองลำที่มีความเร้าใจ สนุกสนานและมีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะของกลอนลำจะมีการยกย่องทั้งฝ่ายชายและหญิง กลอนลำมีลักษณะโต้ตอบกัน จะมีคำสร้อยลงท้าย เช่นคำว่า หนาคิงกลม คนงามเอย ซำบายดี และคำขึ้นต้นว่า ชายเอย นางเอย
การฟ้อนที่อ่อนช้อยของตังหวายนี้ นายประดิษฐ์ แก้วชิณ ได้พบเห็นการแสดงที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่ามีลีลาการแสดงอ่อนช้อยงดงามน่าจะฟื้นฟูจึงได้นำมาทดลองฝึกให้เด็กรำ เห็นว่าเหมาะสมดี จึงได้นำชุดฟ้อนนี้ออกแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมือง ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมา อาจารย์ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี นำต้นแบบมาดัดแปลงท่ารำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้ววงโปงลางวิทยาลัยครูอุบลราชธานีได้นำออกมาแสดงจนเป็นที่นิยมและเป็น เอกลักษณ์ของวงมาจนบัดนี้
เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนเครื่องแต่งกายนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ
1. สวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้าถุงมัดหมี่คาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวย ใช้ฝ้ายสีขาวมัดผมคล้ายอุบะ
2. ใช้ผ้าแพรวารัดอกทิ้งชายทั้งสองข้าง นุ่งผ้าถุงมัดหมี่ยาวครึ่งแข้ง เกล้าผมมวยใช้ผ้ามัดหรือใช้ดอกไม้ประดับรอบมวยผม
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (โปงลาง) ทำนองลำตังหวาย
ที่มา:http://www.baanmaha.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-lum-tung-wai/
เพลงโคราช
เพลงโคราช เป็นศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมีเอกลักษณ์การร้องรำเป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน
แต่ปัจจุบันเพลงโคราชค่อยๆ ได้รับความนิยมและความสนใจน้อยลง พวกเราจึงควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ เพื่อให้ลูกหลานของเราได้สัมผัส ได้รับชมและรับความสนุกสนานเพลิดเพลินดีกว่าการเล่าขานเป็นตำนาน .
ประวัติเพลงโคราช
ประวัติของเพลงโคราชนั้นมีการเล่าขานกันมาว่า มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ เพชรน้อย ออกไปล่าสัตว์ ในเขตหนองบุนนาก บ้านหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา คืนหนึ่งแกไปพบลูกสาวพญานาค ขึ้นมาจากหนองน้ำ มานั่งร้องเพลงคนเดียว พรานเพชรน้อยได้ยินเสียง จึงแอบเข้าไปฟังใกล้ ๆ แกประทับใจ ในความไพเราะ และเนื้อหาของเพลง จึงจำเนื้อและทำนองมาร้องให้คนอื่นฟัง ลักษณะเพลงที่ร้องเป็นเพลงก้อม หรือเพลงคู่สอง
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรกๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ "ซุมบ้านสก" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
ตำนานทั้งสองถึงเม้จะต่างกันในด้านกำเนิดแต่ตรงกันอย่างหนึ่งที่กล่าวว่าเพลงโคราชระยะแรกเล่นแบบเพลงก้อม
ก้อม เป็นภาษาโคราชและภาษาอีสาน แปลว่า สั้น เพลงก้อมหมายถึง เพลงสั้น ๆ ว่าโต้ตอบกล่าวลอย ๆ ทั้งที่มีความหมายลึกซึ้ง หรือไม่มีความหมายเลยก็ได้
เพลงโคราชจะเริ่มเล่นตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด หลักฐานจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีเพียงว่า สมัยท้าวสุรนารี ( คุณย่าโม ) ยังมีชีวิตอยู่ ( พ.ศ. 2313 ถึง 2395 ) ท่านชอบเพลงโคราชมาก เรื่องราวของเพลงโคราชได้ปรากฏหลัดฐานชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2456 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมานครราชสีมาทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จไปพิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่าชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อนายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาสเล่นเพลงโคราชถวาย เพลงที่เล่นใช้เพลงหลัก เช่น กลอนเพลงที่ว่า
" ข้าพเจ้านายหรี่อยู่บุรีโคราชเป็นนักเลงเพลงหัด บ่าวพระยากำแหง ฯ เจ้าคุณเทศา ท่านตั้งให้เป็นขุนนาง .....ตำแหน่ง "
ความอีกตอนเอ่ยถึงการรับเสด็จว่า
" ได้สดับว่าจะรับเสด็จเพื่อเฉลิมพระเดชพระจอมแผ่นดิน โห่สามลา ฮาสามหลั่นเสียงสนั่น....ธานินทร์ "
( สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป้นผู้บังคับการพิเศษประจำกรมทหารม้านครราชสีมา จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อเสด็จนครราชสีมา นายหรี่ สวนข่า ก็มีโอกาสเล่นเพลงถวาย ) เพลงโคราชมีโอกาสเล่นถวายหน้าพระที่นั่งในงานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 1 ในนามการแสดงมหรสพของมณฑลนครราชสีมา เกี่ยวกับกำเนิดของเพลงโคราช มีทั้งที่เป็นคำเล่าและตำนานหลักฐานจากคำบอกเล่าของหมอเพลงอีกจำนวนหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสงครามระหว่างไทยกับเขมร เมื่อไทยชนะสงครามเขมรครั้งไร ชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการขับร้องและร่ายรำกันในหมู่สกที่เขาเรียกว่า " ซุมบ้านสก " ใกล้ ๆ กับชุมทางรถไฟ ถนนจิระและเริ่มเล่นเพลงโคราชกันที่หมู่บ้านนี้ ท่าทางการรำรุกรำถอย และการป้องหู มีผู้สันนิษฐานว่าประยุกต์มาจากการเล่นเจรียง ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ผสมผสาน กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง
ที่ทา:http://www.baanmaha.com/community/thread24103.html
เพลงเรือ ศิลปะภาคกลาง กับ สายน้ำ
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงเรือ
ความเป็นมาของการเล่นเพลงเรือ
เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา ฯลฯ นิยมเล่นกันในหน้านาประมาณเดือน 11-12 อุปกรณ์ในการเล่นเพลงเรือคือ เรือของพ่อเพลงลำหนึ่งและเรือของแม่เพลงลำหนึ่ง เครื่องดนตรีมี กรับธรรมหรือกรับพวงและฉิ่ง ถ้าเล่นกลางคืนจะต้องมีตะเกียงไว้กลางลำเรือ เนื้อร้องทั้งสองฝ่ายมาพบกัน พ่อเพลงก็จะพายเรือเข้าไปเทียบเกาะเรือแม่เพลงไว้แม่เพลงเริ่มด้วยเพลงปลอบ หรือเพลงเกริ่น บางคณะจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูก่อน จากนั้นแม่เพลงก็จะร้องประโต้ตอบเรียกว่า บทประ แล้วต่อด้วยชุดลักหาพาหนี หรือนัดหมายสู่ขอ แล้วต่อด้วยเพลงชุดชิงชู้และเพลงตีหมากผัว เมื่อเลิกก็จะมีเพลงจาก แสดงความอาลัยอาวรณ์
วิธีเล่นเพลงเรือ
วิธีเล่นหรือการขับเพลงจะมีต้นเสียงขึ้น และมีลูกคู่รับ โดยใช้ฉิ่งและกรับพวงเป็นเครื่องประกอบจังหวะเวลาร้อง ต้องร้องให้ลงกับจังหวะพาย ผู้ขับเพลงเรือหรือแม่เพลงต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบที่จะหาคำหรือหยิบยกเอาเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาสอดแทรกเข้า ไปให้เหมาะสมอาจเป็นแข่งขัน ยกย่อง เสียดสี ซึ่งทำให้ผู้ฟังสนุกไปด้วยก่อนการเล่นเพลง ต้องมีการกล่าวกลอนไหว้ครูเสียก่อนจากนั้นจึงจะเอื้อนกลอนพรรณนาหรือชักชวนให้คนอื่นมาเล่นด้วยโดยใช้วิธีว่ากลอนกระทบกระทั่งกระเซ้าเย้าแหย่ จนคู่โต้มิอาจจะทนอยู่ได้จึงเกิดการเล่นเพลงเรือ โต้ตอบกันขึ้น การโต้ตอบกันด้วยเพลงเรือ บางทีก็เผ็ดร้อนใช้คารมที่คมคาย บางทีก็อาจเป็นทำนองรักหวานชื่น ทั้งนี้แล้วแต่โอกาสและสถานการณ์
การแสดงแบ่งเป็น ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง มีพ่อเพลงแม่เพลง
จะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เกี้ยวพาราสี ลักหาพาหนีและตีหมากผัว
ลักษณะบทร้องแบ่งเป็น 4 ตอน คือ
1. ปลอบ (ฝ่ายชายชวน)
2. ประ (ฝ่ายหญิงตอบ)
3. ดำเนินเรื่อง
4. จาก
การแต่งกาย
ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าขาวม้าคาดเอว ส่วนฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก
โอกาสที่แสดง
แสดงในงานฤดูน้ำหลาก หรือในงานนักขัตฤกษ์ งานมงคล เช่น บวชนาค ทอดกฐินและลอยกระทง
สถานที่แสดง
แสดงและเล่นกันในเรือ แต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่
ตัวอย่างเพลงเรือ
ได้ยินน้ำคำเสียงมาร่ำสนอง เสียงใครมาเรียกหาน้อง (ฮ้าไฮ้)ที่ไหนล่ะ
แต่พอเรียกหาฉันแม่หนูไม่นานไม่เนิ่น เสียงผู้ชายร้องเชิญ....ฉันจะว่า
การจะเล่นจะหัวหนูน้องไม่ดีดไม่ดิ้น หรอกว่ายามกฐิน....ผ้าป่า
พอเรียกก็ขานแต่พอวานก็เอ่ย น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
แต่พอเรียกหาน้องฉันก็ร้องขึ้นรำ ฉันนบนอบตอบคำจริง....พับผ่า
แม่หนูนบนอบตอบคำ ตอบกันไปเสียด้วยน้ำ...วาจา
แต่พอเรียกหาน้องแล้วฉันก็ร้องว่าจ๋า กันเสียเมื่อเวลาเอ๋ยจวนเอย (รับ)
เมื่อเวลาจวนเอยแต่พอเรียกหาน้อง แม่หนูก็ร้องว่าจ๋าหาน้องหาน้องแม่หนูก็ร้อง
ว่าจ๋ากันเมื่อเวลา เอ๋ยเมื่อเวลา เวลาจวนเอย ฮ้า...ไฮ้
เอ๋ยเรียกหาน้องร้องเอ่ย น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
จะเล่นจะหัวกะตัวฉัน เสียงใครมาเรียกแล้วแม่บ้าน...ไกลตา
ครั้นจะไม่ทักไม่ทาย ฉันกลัวว่าพี่แกจะอาย...กันแน่หน้า
ฉันกลัวจะอาจพ่อไหวเอ๋ยเขาบ่น ทั้งฝูงผู้ฝูงคน...ก็มากหน้า
ฉันไม่ให้อายพ่อไหวเอ๋ยเขาแย่ ฉันมิให้พี่ลงไปอาบ...กันแก่หน้า
ฉันจะธุรับหน้าเธอเอาไว้เสมอหน้าท่า
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา เพราะเราเป็นคนเห็นหน้ากันเลย (รับ)
เอ๋ยคนเห็นหน้ากันเอย
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา หน้าก้ม หน้าก้ม ให้หกล้มผวา เพราะเป็นคน
เห็นหน้า เอ๋ยคนเห็นหน้า เห็นหน้ากันเลย (ฮ้า...ไฮ้)
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=374
ความเป็นมาของการเล่นเพลงเรือ
เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง อยุธยา ฯลฯ นิยมเล่นกันในหน้านาประมาณเดือน 11-12 อุปกรณ์ในการเล่นเพลงเรือคือ เรือของพ่อเพลงลำหนึ่งและเรือของแม่เพลงลำหนึ่ง เครื่องดนตรีมี กรับธรรมหรือกรับพวงและฉิ่ง ถ้าเล่นกลางคืนจะต้องมีตะเกียงไว้กลางลำเรือ เนื้อร้องทั้งสองฝ่ายมาพบกัน พ่อเพลงก็จะพายเรือเข้าไปเทียบเกาะเรือแม่เพลงไว้แม่เพลงเริ่มด้วยเพลงปลอบ หรือเพลงเกริ่น บางคณะจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูก่อน จากนั้นแม่เพลงก็จะร้องประโต้ตอบเรียกว่า บทประ แล้วต่อด้วยชุดลักหาพาหนี หรือนัดหมายสู่ขอ แล้วต่อด้วยเพลงชุดชิงชู้และเพลงตีหมากผัว เมื่อเลิกก็จะมีเพลงจาก แสดงความอาลัยอาวรณ์
วิธีเล่นเพลงเรือ
วิธีเล่นหรือการขับเพลงจะมีต้นเสียงขึ้น และมีลูกคู่รับ โดยใช้ฉิ่งและกรับพวงเป็นเครื่องประกอบจังหวะเวลาร้อง ต้องร้องให้ลงกับจังหวะพาย ผู้ขับเพลงเรือหรือแม่เพลงต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบที่จะหาคำหรือหยิบยกเอาเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาสอดแทรกเข้า ไปให้เหมาะสมอาจเป็นแข่งขัน ยกย่อง เสียดสี ซึ่งทำให้ผู้ฟังสนุกไปด้วยก่อนการเล่นเพลง ต้องมีการกล่าวกลอนไหว้ครูเสียก่อนจากนั้นจึงจะเอื้อนกลอนพรรณนาหรือชักชวนให้คนอื่นมาเล่นด้วยโดยใช้วิธีว่ากลอนกระทบกระทั่งกระเซ้าเย้าแหย่ จนคู่โต้มิอาจจะทนอยู่ได้จึงเกิดการเล่นเพลงเรือ โต้ตอบกันขึ้น การโต้ตอบกันด้วยเพลงเรือ บางทีก็เผ็ดร้อนใช้คารมที่คมคาย บางทีก็อาจเป็นทำนองรักหวานชื่น ทั้งนี้แล้วแต่โอกาสและสถานการณ์
การแสดงแบ่งเป็น ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง มีพ่อเพลงแม่เพลง
จะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เกี้ยวพาราสี ลักหาพาหนีและตีหมากผัว
ลักษณะบทร้องแบ่งเป็น 4 ตอน คือ
1. ปลอบ (ฝ่ายชายชวน)
2. ประ (ฝ่ายหญิงตอบ)
3. ดำเนินเรื่อง
4. จาก
การแต่งกาย
ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าขาวม้าคาดเอว ส่วนฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก
โอกาสที่แสดง
แสดงในงานฤดูน้ำหลาก หรือในงานนักขัตฤกษ์ งานมงคล เช่น บวชนาค ทอดกฐินและลอยกระทง
สถานที่แสดง
แสดงและเล่นกันในเรือ แต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่
ตัวอย่างเพลงเรือ
ได้ยินน้ำคำเสียงมาร่ำสนอง เสียงใครมาเรียกหาน้อง (ฮ้าไฮ้)ที่ไหนล่ะ
แต่พอเรียกหาฉันแม่หนูไม่นานไม่เนิ่น เสียงผู้ชายร้องเชิญ....ฉันจะว่า
การจะเล่นจะหัวหนูน้องไม่ดีดไม่ดิ้น หรอกว่ายามกฐิน....ผ้าป่า
พอเรียกก็ขานแต่พอวานก็เอ่ย น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
แต่พอเรียกหาน้องฉันก็ร้องขึ้นรำ ฉันนบนอบตอบคำจริง....พับผ่า
แม่หนูนบนอบตอบคำ ตอบกันไปเสียด้วยน้ำ...วาจา
แต่พอเรียกหาน้องแล้วฉันก็ร้องว่าจ๋า กันเสียเมื่อเวลาเอ๋ยจวนเอย (รับ)
เมื่อเวลาจวนเอยแต่พอเรียกหาน้อง แม่หนูก็ร้องว่าจ๋าหาน้องหาน้องแม่หนูก็ร้อง
ว่าจ๋ากันเมื่อเวลา เอ๋ยเมื่อเวลา เวลาจวนเอย ฮ้า...ไฮ้
เอ๋ยเรียกหาน้องร้องเอ่ย น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
จะเล่นจะหัวกะตัวฉัน เสียงใครมาเรียกแล้วแม่บ้าน...ไกลตา
ครั้นจะไม่ทักไม่ทาย ฉันกลัวว่าพี่แกจะอาย...กันแน่หน้า
ฉันกลัวจะอาจพ่อไหวเอ๋ยเขาบ่น ทั้งฝูงผู้ฝูงคน...ก็มากหน้า
ฉันไม่ให้อายพ่อไหวเอ๋ยเขาแย่ ฉันมิให้พี่ลงไปอาบ...กันแก่หน้า
ฉันจะธุรับหน้าเธอเอาไว้เสมอหน้าท่า
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา เพราะเราเป็นคนเห็นหน้ากันเลย (รับ)
เอ๋ยคนเห็นหน้ากันเอย
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา หน้าก้ม หน้าก้ม ให้หกล้มผวา เพราะเป็นคน
เห็นหน้า เอ๋ยคนเห็นหน้า เห็นหน้ากันเลย (ฮ้า...ไฮ้)
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=374
การขับซอ
ขับลำ ขับซอ เพลงพื้นบ้านแห่งลุ่มน้ำโขง
เพลงพื้นบ้านเป็นพัฒนาการหนึ่งที่สำคัญของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รวมกลุ่มกันเป็นชนเผ่า มีภาษาสื่อสารระหว่างกัน มีเวลาที่จะคิดสร้างสรรความบันเทิงเพื่อให้ความสนุกสนาน แก่สมาชิกในสังคม เพลงพื้นบ้านเป็น ประดิษฐกรรมทางสุนทรีย์แรกๆ ของมนุษย์ที่เริ่มจากการร้องออกมาเป็นเพลงใช้เสียงปรบมือหรือเสียงเคาะเป็นจังหวะกำกับ ต่อมาในบางท้องที่ได้สร้างเครื่องดนตรีมาเพื่อใช้บรรเลงประกอบ ทำให้เพลงพื้นบ้านมีความไพเราะมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูและส่งเสริมเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทแห่งลุ่มน้ำโขงและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการแสดงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ จึงได้จัดการ แสดง “ขับลำ ขับซอ เพลงพื้นบ้านแห่งลุ่มน้ำโขง” ขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลา 16.00 – 20.00 น. ที่ผ่านมาณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน
ซึ่งใน การแสดงทางวัฒนธรรมในวันดังกล่าวมีทั้งการบรรยายและ การสาธิตเพลงพื้นบ้าน ซึ่งในการแสดงครั้งนี้ จะนำเสนอเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทสองกลุ่ม คือ “ขับลำ” ของชนชาติไทอีสาน กับ “ขับซอ” ของชนชาติไทล้านนา“ไท” กลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง ได้สร้างสรรความบันเทิงที่เรียกว่า “เพลงพื้นบ้าน” ของตนขึ้นมา อาทิไทลื้อ สิบสองปันนา มี “ขับ” หรือ บางทีก็เรียก “ขับลื้อ” ไทล้านนา มี “ซอ” ไทใหญ่มี “เสิน” ไทล้านช้างทางเหนือ มี “ขับ” เช่น ขับทุ้มหลวงพระบาง ขับเชียงขวาง ขับซำเหนือ ไทล้านช้างทางไต้ มี “ลำ” เช่น ลำสีพันดอนลำมะหาไชย ลำตังหวาย ไทอีสาน คือกลุ่มคนที่แยกตัวมาจากไทล้านช้าง แล้วถูกผนวกให้เข้ามาอยู่ในอาณาเขตของสยามตั้งแต่เมื่อเกิดรัฐชาติ (Nation State) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา “ไท” กลุ่มนี้มีเพลงพื้นบ้านเรียกว่า “ลำ” เช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น “ขับ ซอ เสิน ลำ” ต่างก็เป็นเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทกลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง วัฒนธรรมและคำดังกล่าวเมื่อถูกถ่ายทอดให้แก่ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งพื้นฐานนั้นก็เป็นชนชาติ “ไท” เช่นเดียวกัน ชนกลุ่มดังกล่าวได้มาสร้างสรรเพลงพื้นบ้านของตนนั่นคือ “เสภา” ความหมายเดิมของ “ขับ ซอ เสิน ลำ”หรือแม้แต่ “เสภา” ล้วนเหมือนกัน คือหมายถึง “เพลงพื้นบ้าน” ซึ่งเป็นคำนาม ต่อมาคำว่า “ขับ” มีความหมายเพียง เฉพาะการ “การร้อง” ซึ่งมีความหมายไปในทางคำกิริยาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้คำว่า “ขับ” จึงถูกนำมาใช้เรียกการแสดงเพลงพื้นบ้านของชนชาติไท จึงกลายมาเป็น “ขับลำ ขับซอ” หรือแม้กระทั่ง “ขับเสภา” ของไทสยามการ “ขับ” เพลงพื้นบ้านของชนชาติไทนั่น จะได้รับความสนใจหรือไม่
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ “5 ดี” คือ
- เสียงดี หมายถึง เสียงร้องของศิลปินต้องดังกังวานไพเราะเพราะพริ้ง
- ทำนองดี หมายถึง การเลือกทำนองที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด เพราะ ทำนองเป็นเรื่องของอารมณ์
- โวหารดี คือ เนื้อเพลงที่ร้องต้องถูกต้องฉันทลักษณ์ และมีโวหารประทับใจซึ่งเป็นเรื่องของทักษะ
ทางกวีนิพนธ์ เป็นเรื่องความงามทางภาษา
- ปฏิภาณดี คือ ความสามารถด้นกลอนสดๆ ซึ่งในภาคอีสานเรียกว่า “แตกลำ” ทางภาคเหนือเรียกว่า
“ซอเก็บ”
- ดนตรีดี คือ ดนตรีที่บรรเลงประกอบต้องเสียงเพราะและผู้บรรเลงมีฝีมือดี
“ลำ” เพลงพื้นบ้านไทอีสานไทอีสานกับไทล้านช้างโดยเฉพาะที่อยู่ในเขตลาวใต้แม้จะถูกแยกจากกันโดยรัฐชาติ แต่ไม่อาจตัดขาดจากกันทางวัฒนธรรม ในเมื่อ “ลำ” เป็นเพลงพื้นบ้านของลาวใต้ “ลำ” ก็เป็น เพลงพื้นบ้านของไทอีสานเช่นกัน เพียงแต่มีการสร้างสรรลีลาและท่วงทำนองให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน ท่วงทำนองในการ “ขับลำ” ของไทอีสานมีทั้งหมด 4 ทาง หรือที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “วาด” ประกอบด้วย วาดอุบล วาดขอนแก่น วาดพุทไธสง วาดภูเขียว ดังที่กล่าวมาแล้วว่า “ลำ” คือเพลงพื้นบ้านไทอีสาน ซึ่งนอกจากจะมีทำนองร้อง 4 ทำนองหลักแล้ว การ “ลำ” ยังมีรูปแบบการนำเสนอแยกย่อยไปอีก เช่น ลำล่อง หรือลำเดี่ยว มักจะใช้เพื่อพรรณาความหรือตอนบทลาลำคู่ คือการลำคู่ชาย-หญิง เพื่อตอบโต้กัน ลำเต้ย เป็นอีกหนึ่งทำนองลำ แยกย่อยออกเป็น เต้ยพม่า เต้ยโขง เต้ยหัวโนนตาล ลำเพลิน พัฒนาการล่าสุดของ “ลำ” มีจังหวะรวดเร็วเร้าใจในการแสดง “ขับลำ” ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติคือ ฉวีวรรณ ดำเนิน และ ป.ฉลาดน้อย ทั้งสองท่านเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงและเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้นการขับลำครั้งนี้จะเป็นลีลาแบบ “วาดอุบล” รวมทั้งมีศิลปินรุ่นใหม่ที่มาสาธิตการขับลำแบบ “วาดขอนแก่น” ด้วย
“ขับซอ” เพลงพื้นบ้านไทล้านนา
“ขับซอยอราชเยื้อง ทุกเมือง
ลือเล่าพระลอเรือง ทั่วหล้า”
ลิลิตพระลอ
“ขับซอ” หรือ “ซอ” เป็นเพลงพื้นบ้านของไทล้านนา มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเชียงใหม่ มีหลายทำนองเริ่มจากทำนอง ตั้งเจียงใหม่ ตามด้วย จะปุ และละม้าย
นอกนั้นก็มีทำนอง พม่า เงี้ยว อื่อ พระลอ ปั่นฝ้าย ฯลฯการขับซอของกลุ่มนี้ใช้ “ปี่” เป็นเครื่องดนตรีประกอบส่วนมากจะใช้ปี่ 3 เลาที่ต่างเสียงกัน เรียกว่า “ปี่จุม 3”
ปัจจุบันนิยมเอาซึงมาบรรเลงร่วมอีก 1 ตัว ช่วยทำให้เสียงดนตรีเพราะมากยิ่งขึ้น การขับซอประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนืออีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มน่าน หรือบางทีเรียกว่า “ซอล่องน่าน” ซอประเภทนี้มี 2 ทำนองหลัก คือ ล่องน่านกับ ลับแล การขับซอของกลุ่มนี้จะใช้สะล้อ และซึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่เดิมนิยมกันเฉพาะจังหวัดน่านและจังหวัดแพร่ ปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั่วภาคเหนือในการแสดง “ขับซอ” ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากแม่บัวซอน เมืองป้าว ศิลปินซออาวุโส ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มานาน ได้รับรางวัลเกียรติยศ “ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม” จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ พร้อมด้วยศิลปินชายคือ มานพ ปริญญาศิลป์ ศิลปินซออาชีพที่โด่งดังของภาคเหนือ ทั้งสองท่านได้แสดงการขับซอ เริ่มจากทำนอง ตั้งเจียงใหม่ จะปุ ละม้าย พม่า เงี้ยว อื่อ พระลอ
การแสดง “ขับซอ” ในวันนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการสาธิตการ “ขับซอล่องน่าน” ให้ชมอีกด้วย โดยได้รับเกียรติจากศิลปินซอล่องน่านที่มีชื่อเสียง นำโดย ลำดวน เมืองแป้ มาจัดแสดง พร้อมสาธิตท่าร่ายรำในแบบเฉพาะช่วงท้ายของการแสดงเป็นการประชันกันระหว่าง แม่ฉวีวรรณ และแม่บัวซอน ในการขับทำนองเพลงพม่า ทั้งขับแบบล้านนาในทำนองซอพม่า และเต้ยพม่าในฉบับอีสานด้วย นับว่าในการแสดงครั้งนี้เราได้เสพสิ่งที่ชวนรื่นเริงทั้งทางใจและทางกาย โดยศิลปินแห่งชาติทั้งหลายได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่มีคุณค่าควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป
ที่มา http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=120&category_id=7
เพลงพื้นบ้านเป็นพัฒนาการหนึ่งที่สำคัญของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รวมกลุ่มกันเป็นชนเผ่า มีภาษาสื่อสารระหว่างกัน มีเวลาที่จะคิดสร้างสรรความบันเทิงเพื่อให้ความสนุกสนาน แก่สมาชิกในสังคม เพลงพื้นบ้านเป็น ประดิษฐกรรมทางสุนทรีย์แรกๆ ของมนุษย์ที่เริ่มจากการร้องออกมาเป็นเพลงใช้เสียงปรบมือหรือเสียงเคาะเป็นจังหวะกำกับ ต่อมาในบางท้องที่ได้สร้างเครื่องดนตรีมาเพื่อใช้บรรเลงประกอบ ทำให้เพลงพื้นบ้านมีความไพเราะมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูและส่งเสริมเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทแห่งลุ่มน้ำโขงและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการแสดงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ จึงได้จัดการ แสดง “ขับลำ ขับซอ เพลงพื้นบ้านแห่งลุ่มน้ำโขง” ขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลา 16.00 – 20.00 น. ที่ผ่านมาณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน
ซึ่งใน การแสดงทางวัฒนธรรมในวันดังกล่าวมีทั้งการบรรยายและ การสาธิตเพลงพื้นบ้าน ซึ่งในการแสดงครั้งนี้ จะนำเสนอเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทสองกลุ่ม คือ “ขับลำ” ของชนชาติไทอีสาน กับ “ขับซอ” ของชนชาติไทล้านนา“ไท” กลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง ได้สร้างสรรความบันเทิงที่เรียกว่า “เพลงพื้นบ้าน” ของตนขึ้นมา อาทิไทลื้อ สิบสองปันนา มี “ขับ” หรือ บางทีก็เรียก “ขับลื้อ” ไทล้านนา มี “ซอ” ไทใหญ่มี “เสิน” ไทล้านช้างทางเหนือ มี “ขับ” เช่น ขับทุ้มหลวงพระบาง ขับเชียงขวาง ขับซำเหนือ ไทล้านช้างทางไต้ มี “ลำ” เช่น ลำสีพันดอนลำมะหาไชย ลำตังหวาย ไทอีสาน คือกลุ่มคนที่แยกตัวมาจากไทล้านช้าง แล้วถูกผนวกให้เข้ามาอยู่ในอาณาเขตของสยามตั้งแต่เมื่อเกิดรัฐชาติ (Nation State) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา “ไท” กลุ่มนี้มีเพลงพื้นบ้านเรียกว่า “ลำ” เช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น “ขับ ซอ เสิน ลำ” ต่างก็เป็นเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทกลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง วัฒนธรรมและคำดังกล่าวเมื่อถูกถ่ายทอดให้แก่ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งพื้นฐานนั้นก็เป็นชนชาติ “ไท” เช่นเดียวกัน ชนกลุ่มดังกล่าวได้มาสร้างสรรเพลงพื้นบ้านของตนนั่นคือ “เสภา” ความหมายเดิมของ “ขับ ซอ เสิน ลำ”หรือแม้แต่ “เสภา” ล้วนเหมือนกัน คือหมายถึง “เพลงพื้นบ้าน” ซึ่งเป็นคำนาม ต่อมาคำว่า “ขับ” มีความหมายเพียง เฉพาะการ “การร้อง” ซึ่งมีความหมายไปในทางคำกิริยาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้คำว่า “ขับ” จึงถูกนำมาใช้เรียกการแสดงเพลงพื้นบ้านของชนชาติไท จึงกลายมาเป็น “ขับลำ ขับซอ” หรือแม้กระทั่ง “ขับเสภา” ของไทสยามการ “ขับ” เพลงพื้นบ้านของชนชาติไทนั่น จะได้รับความสนใจหรือไม่
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ “5 ดี” คือ
- เสียงดี หมายถึง เสียงร้องของศิลปินต้องดังกังวานไพเราะเพราะพริ้ง
- ทำนองดี หมายถึง การเลือกทำนองที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด เพราะ ทำนองเป็นเรื่องของอารมณ์
- โวหารดี คือ เนื้อเพลงที่ร้องต้องถูกต้องฉันทลักษณ์ และมีโวหารประทับใจซึ่งเป็นเรื่องของทักษะ
ทางกวีนิพนธ์ เป็นเรื่องความงามทางภาษา
- ปฏิภาณดี คือ ความสามารถด้นกลอนสดๆ ซึ่งในภาคอีสานเรียกว่า “แตกลำ” ทางภาคเหนือเรียกว่า
“ซอเก็บ”
- ดนตรีดี คือ ดนตรีที่บรรเลงประกอบต้องเสียงเพราะและผู้บรรเลงมีฝีมือดี
“ลำ” เพลงพื้นบ้านไทอีสานไทอีสานกับไทล้านช้างโดยเฉพาะที่อยู่ในเขตลาวใต้แม้จะถูกแยกจากกันโดยรัฐชาติ แต่ไม่อาจตัดขาดจากกันทางวัฒนธรรม ในเมื่อ “ลำ” เป็นเพลงพื้นบ้านของลาวใต้ “ลำ” ก็เป็น เพลงพื้นบ้านของไทอีสานเช่นกัน เพียงแต่มีการสร้างสรรลีลาและท่วงทำนองให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน ท่วงทำนองในการ “ขับลำ” ของไทอีสานมีทั้งหมด 4 ทาง หรือที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “วาด” ประกอบด้วย วาดอุบล วาดขอนแก่น วาดพุทไธสง วาดภูเขียว ดังที่กล่าวมาแล้วว่า “ลำ” คือเพลงพื้นบ้านไทอีสาน ซึ่งนอกจากจะมีทำนองร้อง 4 ทำนองหลักแล้ว การ “ลำ” ยังมีรูปแบบการนำเสนอแยกย่อยไปอีก เช่น ลำล่อง หรือลำเดี่ยว มักจะใช้เพื่อพรรณาความหรือตอนบทลาลำคู่ คือการลำคู่ชาย-หญิง เพื่อตอบโต้กัน ลำเต้ย เป็นอีกหนึ่งทำนองลำ แยกย่อยออกเป็น เต้ยพม่า เต้ยโขง เต้ยหัวโนนตาล ลำเพลิน พัฒนาการล่าสุดของ “ลำ” มีจังหวะรวดเร็วเร้าใจในการแสดง “ขับลำ” ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติคือ ฉวีวรรณ ดำเนิน และ ป.ฉลาดน้อย ทั้งสองท่านเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงและเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้นการขับลำครั้งนี้จะเป็นลีลาแบบ “วาดอุบล” รวมทั้งมีศิลปินรุ่นใหม่ที่มาสาธิตการขับลำแบบ “วาดขอนแก่น” ด้วย
“ขับซอ” เพลงพื้นบ้านไทล้านนา
“ขับซอยอราชเยื้อง ทุกเมือง
ลือเล่าพระลอเรือง ทั่วหล้า”
ลิลิตพระลอ
“ขับซอ” หรือ “ซอ” เป็นเพลงพื้นบ้านของไทล้านนา มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเชียงใหม่ มีหลายทำนองเริ่มจากทำนอง ตั้งเจียงใหม่ ตามด้วย จะปุ และละม้าย
นอกนั้นก็มีทำนอง พม่า เงี้ยว อื่อ พระลอ ปั่นฝ้าย ฯลฯการขับซอของกลุ่มนี้ใช้ “ปี่” เป็นเครื่องดนตรีประกอบส่วนมากจะใช้ปี่ 3 เลาที่ต่างเสียงกัน เรียกว่า “ปี่จุม 3”
ปัจจุบันนิยมเอาซึงมาบรรเลงร่วมอีก 1 ตัว ช่วยทำให้เสียงดนตรีเพราะมากยิ่งขึ้น การขับซอประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนืออีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มน่าน หรือบางทีเรียกว่า “ซอล่องน่าน” ซอประเภทนี้มี 2 ทำนองหลัก คือ ล่องน่านกับ ลับแล การขับซอของกลุ่มนี้จะใช้สะล้อ และซึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่เดิมนิยมกันเฉพาะจังหวัดน่านและจังหวัดแพร่ ปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั่วภาคเหนือในการแสดง “ขับซอ” ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากแม่บัวซอน เมืองป้าว ศิลปินซออาวุโส ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มานาน ได้รับรางวัลเกียรติยศ “ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม” จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ พร้อมด้วยศิลปินชายคือ มานพ ปริญญาศิลป์ ศิลปินซออาชีพที่โด่งดังของภาคเหนือ ทั้งสองท่านได้แสดงการขับซอ เริ่มจากทำนอง ตั้งเจียงใหม่ จะปุ ละม้าย พม่า เงี้ยว อื่อ พระลอ
การแสดง “ขับซอ” ในวันนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการสาธิตการ “ขับซอล่องน่าน” ให้ชมอีกด้วย โดยได้รับเกียรติจากศิลปินซอล่องน่านที่มีชื่อเสียง นำโดย ลำดวน เมืองแป้ มาจัดแสดง พร้อมสาธิตท่าร่ายรำในแบบเฉพาะช่วงท้ายของการแสดงเป็นการประชันกันระหว่าง แม่ฉวีวรรณ และแม่บัวซอน ในการขับทำนองเพลงพม่า ทั้งขับแบบล้านนาในทำนองซอพม่า และเต้ยพม่าในฉบับอีสานด้วย นับว่าในการแสดงครั้งนี้เราได้เสพสิ่งที่ชวนรื่นเริงทั้งทางใจและทางกาย โดยศิลปินแห่งชาติทั้งหลายได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่มีคุณค่าควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป
ที่มา http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=120&category_id=7
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)