วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เพลงอีแซว แม่ขวัญจิต พ่อหวังเต๊ะ

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=2NNtEe92OAg

เพลงอีแซว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงอีแซว



     เพลงอีแซว  เป็นเพลงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีกำเนิดและเป็นที่ยอมรับกันว่าเพลงนี้เกิดในถิ่นสุพรรณบุรีโดยตรง แพร่หลายในเขตจังหวัดสุพรรณ บุรีและใกล้เคียง เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ (เพลงโต้ตอบ) ที่ หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ  เพลงอีแซว แต่ก่อนเรียก เพลงยั่วเพราะร้องยั่วกัน คล้ายเพลงกลองยาว ต่อมามีผู้เอาแคนไปขายที่สุพรรณ ก็เอาแคนมาเป่าประกอบด้วย เรียกกันว่า เพลงแคน เวลาร้องใช้มือตบ เป็นจังหวะบางคนจึงเรียก เพลงตบแผละ จากนั้น ทำนองและเนื้อร้องก็ค่อย ๆ มีแบบเป็นของตัวเองขึ้น จึงมาเรียกเพลงอีแซว มีการยืมเนื้อจากเพลงฉ่อยทางอ่างทองมาร้องเป็นเรื่องยาวขึ้น เหตุที่เรียกเพลงอีแซวนั้น ก็สันนิษฐานกันไป ที่น่าเชื่อก็คือ พ่อบัวเผื่อน สันนิษฐานว่า  "เพราะยืนร้องแซวกันทั้งคืน"  กระทั่งเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเสื้อผ้าของผู้แสดง โดยจะนุ่งโจงกระเบนทั้งฝ่ายชายและหญิง ส่วนเสื้อนั้น ฝ่ายหญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นคอกลมหรือ คอเหลี่ยมกว้าง ฝ่ายชายมักจะ ใส่เสื้อแขนสั้นคอกลม สร้าง สรรค์ความสะดุดตาด้วยสี ที่ฉูดฉาดเพื่อดึงดูดใจผู้ชม   ด้วยความนิยมในเพลงอีแซวทำให้สามารถแสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาสเพียงแต่ จะไม่มีการแสดงในงานแต่งงาน  วงอีแซวจะไม่มีข้อกำหนดเรื่อง จำนวนผู้แสดง แต่ในวงหนึ่งๆ จะมีการจัดสรรแหน่งหน้าที่ ของผู้แสดงประกอบด้วย พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย) แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง) คอต้น (ผู้ร้องเพลงโต้ตอบคนแรก) คอสอง , คอสาม (ผู้ร้องคนที่สองและ สาม) และ ลูกคู่ (จำนวนไม่จำกัด มีหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำความ ร้องสอดแทรกขัดจังหวะ เพื่อความสนุกสนาน)
     เพลงอีแซวมีจะดำเนินการแสดงโดยมีเนื้อหาเรียงลำดับ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู บทเกริ่น บทประ และจบท้ายด้วยบทจาก หรือบทลา

๑. บทไหว้ครู เป็นบทกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผู้มีพระคุณ ได้แก่ พระรัตนตรัย เทวดา ภูตผี พ่อแม่ ครูอาจารย์ ( ครูเพลงของอีแซวจะมีสองแบบ “ ครูเพลงที่เป็นจิตวิญญาณ ” เช่นพระนารายณ์ ฤาษีหรือพ่อแก่ และครูอีกประเภทคือ “ ครู เพลงที่เป็นมนุษย์ ” นอกจากครูเพลงทั้งสองแบบแล้ว ก็มี “ครู พักลักจำ” ซึ่งหมายถึงครูที่ผู้ร้องไม่ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ แต่ได้ แอบจดจำเพลงหรือลีลา ) การร้องบทไหว้ครูจะต้องนั่งกับพื้นร้อง โดยมี “พาน กำนล” หรือพานไหว้ครูวางไว้ข้างหน้า หรือยกถือไว้ในขณะร้อง โดยพ่อเพลงจะร้องก่อน ตามด้วยแม่เพลง

๒. บทเกริ่น เป็นบทร้องของฝ่ายชายและหญิงก่อนที่จะ มาพบกันตามเหตุการณ์ที่สมมุติไว้ บทเกริ่นเริ่มต้นภายหลังจาก บทไหว้ครูจบลง ผู้แสดงทั้งหมดจะลุกขึ้นยืนร้อง “เพลงออกตัว” มีเนื้อหาทักทายกัน แนะนำตัว ฝากตัวกับผู้ชม ตามด้วย “เพลง แต่งตัว” หากสมมุติเหตุการณ์เป็นการชักชวนกันไปเที่ยวบ้าน สาวๆ พอมาถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้วจะร้อง “เพลงปลอบ” ซึ่งเป็น เพลงที่ชักชวนให้ฝ่ายหญิงออกมาร้องเพลงโต้ตอบกัน

๓. เพลงประ หมายถึงการร้องปะทะคารมกันของทั้งสอง ฝ่าย เพลงประของวงอีแซวมีหลายแบบ ได้แก่ แนวรัก ( การเกี้ยว พาราสี ) แนวประลอง ( การทดสอบฝีปากหรือทดสอบภูมิปัญญา ) และแนวเพลงเรื่อง ( ดำเนินเรื่องราวตามเรื่องของ นิทาน นิยาย หรือวรรณกรรม )

๔. บทจาก หรือ บทลา เป็นเพลงที่ใช้ร้องเพื่อ แสดงถึงความอาลัยคู่เล่นเพลง ผู้ชม หรือ กล่าวอำลาผู้ชม หรือเจ้าภาพผู้ว่าจ้างให้มาแสดง

๕. การอวยพร เป็นการร้องขอบคุณเจ้าภาพ และ ผู้ชม รวมทั้งขอบคุณผู้ให้รางวัล

ทำนองเนื้อร้องเดิมจะร้องลักษณะนี้
ชาย “ตั้งวงไว้เผื่อ ปูเสื่อไว้ท่า เอย…..
จะให้วงฉันรา ซะแล้วทำไม (จะให้วงฉันราชะแล้วทำไม)
รักจะเล่นก็ให้เต้นเข้ามาเอย…….
คนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม (รับคนสวยจะช้า ซะแล้วทำไม”)
มาในปัจจุบันทำนองจะผิดไป และภายหลังคำ ซะแล้ว จะเหลือเพียง แล้ว ต่อมาสันนิษฐานว่า   นายกร่าย พ่อเพลงรุ่นเดียวกับพ่อบัวเผื่อน หรือหวังเต๊ะ นักลำตัดชั้นครูได้ดัดแปลงทำนองเพลงอีแซวเป็นอีกทำนองหนึ่ง อย่างที่ขึ้นต้นว่า “เอ้ามาเถิดมากระไรแม่มา ๆ …..”พ่อไสว เป็นผู้เอาตะโพนสองหน้าเข้าไปตีประกอบเป็นเครื่องให้จังหวะเพิ่ม จากฉิ่ง กรับ และการปรบมืออีกเพลงอีแซวมีจังหวะกระชั้นเร็วกว่าเพลงฉ่อยหนึ่งเท่า คนร้องจึงต้องจำเพลงหลักให้แม่และมีปฏิภาณว่องไว ไม่อย่างนั้นก็ร้องไม่ทัน


ตัวอย่างเพลงอีแซวของพ่อไสว

จากนาง (เพลงอีแซวของพ่อไสว)
เอย…พี่น้องป้าน้าจะต้องลาแน่วแน่เอย…..   ปากลาตาแลยังหลงอาลัย
มันเกิดกรรมปางก่อนต้องจากก่อนไกลกัน   เกิดกรรมกางกั้นจะไม่ได้กอดก่าย
แม่คู่ข้าเคียงข้าง อย่าระคายเคืองขุ่น            ต้องจากแน่แม่คุณเอยแม่ข่อยใบคาย
มันมีข้อขัดข้องไม่ได้ประคองเคียงข้าง        รักพี่ตกค้างไม่รู้ไปฝากไว้กะใคร
รักใครรักเขามันไม่เท่ารักน้อง                     แม่คู่เคยประคองแม่แก้วขาวปานไข่
อีแม่คู่เคยเข็น เห็นจะเป็นคู่เขา                    พี่มานั่งกอดเข่าแทบจะเป็นไข้
น้องจะมีคู่ ให้นึกถึงข้า (เอย…..นึกถึงข้า)

     เนื่องจากช่วงเวลาที่เล่นเป็นฤดูน้ำหลาก เป็นช่วงทำนาบรรดาพ่อเพลงแม่เพลงจากถิ่นต่าง ๆ ก็จะมาชุมนุมกัน พวกที่มาทางบกก็เล่นเพลงอีแซว ด้วยเหตุเป็นเพลงเร็ว จังหวะกระชั้น ผู้ร้องมีปฏิภาณดีหรือที่เรียกว่า มุติโตแตกฉาน ซึ่งสะท้อนภาพสังคม สอดแทรกมุขต่าง ๆ ลงในบทร้อง มีข้อความเสียดสี กินใจ สั่งสอน และบทตลก ลงท้ายด้วยการขออภัยที่ได้ล่วงเกิน จากนั้นก็ให้พรซึ่งกันและกัน ทั้งเจ้าภาพและผู้ฟัง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
     พ่อเพลงและแม่เพลง จะเริ่มต้นโดยการกล่าวบทไหว้ครู จากนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มเรียกว่า ปลอบ ฝ่ายหญิงจะว่าบท รับแขก จากนั้นฝ่ายชายจะวกเข้าหา บทเกี้ยว ฝ่ายหญิงจะรับด้วยบท เล่นตัว ฝ่ายชายจะว่าบท ออด ฝ่ายหญิงจะตอบด้วยบทเสียแค่นไม่ได้ รับรัก จากนั้นฝ่ายหญิงจะขึ้นบท เกี่ยง ให้มาสู่ขอฝ่ายชายจะขอพาหนีพอหนีตามกันก็จะถึงบทชมนกชมไม้

โอกาสและเวลาการเล่น
     เล่นในเวลาเทศกาลงานสำคัญ เช่น ตรุษสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ งานมนัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์เดือน๑๒งานทอดกฐินรวมทั้งงานเกี่ยวข้าว

ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=380

ลำตังหวายครับ

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=KRDPQyK8yjQ&feature=related

รำตังหวาย

ลำตังหวาย Lum tung wai


การฟ้อนตังหวาย ฟ้อนตังหวายนั่นมีที่มาอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่

1 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีความเชื่อและยึดมั่นในการ นับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่าสิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถ จะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่าสิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น


จึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด “ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น” ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ “ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย” แต่ต่อมาคำว่า “ตั้งถวายฟ้อนถวาย” คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า “ตั้งหวาย” หรือ “ตังหวาย”

2 ฟ้อนตังหวายกับลำตังหวาย ลำตังหวายเป็นทำนองลำของหมอลำในแคว้นสวันนะเขต คำว่า ตังหวาย น่าจะมาจากคำว่า “ตั่งหวาย” ซึ่งในสูจิบัตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของคณะศิลปินและกายกรรมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้คำว่า “ขับลำตั่งหวาย” คำว่า “ตั่งหวาย” ถ้าพิจารณาตามความหมายของคำแล้ว คำว่า “ตั่ง” หมายถึงที่สำหรับนั่งไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น “ตั่งหวาย” น่าจะหมายถึง ที่นั่งที่ทำมาจากหวาย
จึงสันนิษฐานว่า การลำตั่งหวายเป็นทำนองลำที่นิยมลำของหมอลำในหมู่บ้านที่มีอาชีพผลิตตั่ง หวายออกจำหน่าย แต่เมื่อทำนองลำนี้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยจึงกลายมาเป็น “ลำตังหวาย” ลำตังหวายเป็นทำนองลำที่มีความเร้าใจ สนุกสนานและมีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะของกลอนลำจะมีการยกย่องทั้งฝ่ายชายและหญิง กลอนลำมีลักษณะโต้ตอบกัน จะมีคำสร้อยลงท้าย เช่นคำว่า หนาคิงกลม คนงามเอย ซำบายดี และคำขึ้นต้นว่า ชายเอย นางเอย
การฟ้อนที่อ่อนช้อยของตังหวายนี้ นายประดิษฐ์ แก้วชิณ ได้พบเห็นการแสดงที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่ามีลีลาการแสดงอ่อนช้อยงดงามน่าจะฟื้นฟูจึงได้นำมาทดลองฝึกให้เด็กรำ เห็นว่าเหมาะสมดี จึงได้นำชุดฟ้อนนี้ออกแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมือง ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมา อาจารย์ศิริเพ็ญ อัตไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี นำต้นแบบมาดัดแปลงท่ารำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น แล้ววงโปงลางวิทยาลัยครูอุบลราชธานีได้นำออกมาแสดงจนเป็นที่นิยมและเป็น เอกลักษณ์ของวงมาจนบัดนี้

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนเครื่องแต่งกายนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ

1. สวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้าถุงมัดหมี่คาดเข็มขัดเงินทับ ผมเกล้ามวย ใช้ฝ้ายสีขาวมัดผมคล้ายอุบะ
2. ใช้ผ้าแพรวารัดอกทิ้งชายทั้งสองข้าง นุ่งผ้าถุงมัดหมี่ยาวครึ่งแข้ง เกล้าผมมวยใช้ผ้ามัดหรือใช้ดอกไม้ประดับรอบมวยผม

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (โปงลาง) ทำนองลำตังหวาย

ที่มา:http://www.baanmaha.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-lum-tung-wai/

การแสดงเพลงโคราช

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=LohhmJQDcJg

เพลงโคราช


เพลงโคราช เป็นศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราช ซึ่งได้สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเพลงโคราชนั้นมีเอกลักษณ์การร้องรำเป็นภาษาโคราช ซึ่งมีความไพเราะ ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนาน

แต่ปัจจุบันเพลงโคราชค่อยๆ ได้รับความนิยมและความสนใจน้อยลง พวกเราจึงควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ เพื่อให้ลูกหลานของเราได้สัมผัส ได้รับชมและรับความสนุกสนานเพลิดเพลินดีกว่าการเล่าขานเป็นตำนาน .

ประวัติเพลงโคราช


ประวัติของเพลงโคราชนั้นมีการเล่าขานกันมาว่า มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ เพชรน้อย ออกไปล่าสัตว์ ในเขตหนองบุนนาก บ้านหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา คืนหนึ่งแกไปพบลูกสาวพญานาค ขึ้นมาจากหนองน้ำ มานั่งร้องเพลงคนเดียว พรานเพชรน้อยได้ยินเสียง จึงแอบเข้าไปฟังใกล้ ๆ แกประทับใจ ในความไพเราะ และเนื้อหาของเพลง จึงจำเนื้อและทำนองมาร้องให้คนอื่นฟัง ลักษณะเพลงที่ร้องเป็นเพลงก้อม หรือเพลงคู่สอง




อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรกๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ "ซุมบ้านสก" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ



ตำนานทั้งสองถึงเม้จะต่างกันในด้านกำเนิดแต่ตรงกันอย่างหนึ่งที่กล่าวว่าเพลงโคราชระยะแรกเล่นแบบเพลงก้อม

ก้อม เป็นภาษาโคราชและภาษาอีสาน แปลว่า สั้น เพลงก้อมหมายถึง เพลงสั้น ๆ ว่าโต้ตอบกล่าวลอย ๆ ทั้งที่มีความหมายลึกซึ้ง หรือไม่มีความหมายเลยก็ได้



เพลงโคราชจะเริ่มเล่นตั้งแต่เมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด หลักฐานจากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีเพียงว่า สมัยท้าวสุรนารี ( คุณย่าโม ) ยังมีชีวิตอยู่ ( พ.ศ. 2313 ถึง 2395 ) ท่านชอบเพลงโคราชมาก เรื่องราวของเพลงโคราชได้ปรากฏหลัดฐานชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2456 ที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จมานครราชสีมาทรงเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์ และเสด็จไปพิมาย ในโอกาสรับเสด็จครั้งนั้น หมอเพลงชายรุ่นเก่าชื่อเสียงโด่งดังมากชื่อนายหรี่ บ้านสวนข่า ได้มีโอกาสเล่นเพลงโคราชถวาย เพลงที่เล่นใช้เพลงหลัก เช่น กลอนเพลงที่ว่า
" ข้าพเจ้านายหรี่อยู่บุรีโคราชเป็นนักเลงเพลงหัด บ่าวพระยากำแหง ฯ เจ้าคุณเทศา ท่านตั้งให้เป็นขุนนาง .....ตำแหน่ง "
ความอีกตอนเอ่ยถึงการรับเสด็จว่า
" ได้สดับว่าจะรับเสด็จเพื่อเฉลิมพระเดชพระจอมแผ่นดิน โห่สามลา ฮาสามหลั่นเสียงสนั่น....ธานินทร์ "
( สมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป้นผู้บังคับการพิเศษประจำกรมทหารม้านครราชสีมา จนถึง พ.ศ. 2462 เมื่อเสด็จนครราชสีมา นายหรี่ สวนข่า ก็มีโอกาสเล่นเพลงถวาย ) เพลงโคราชมีโอกาสเล่นถวายหน้าพระที่นั่งในงานชุมนุมลูกเสือครั้งที่ 1 ในนามการแสดงมหรสพของมณฑลนครราชสีมา เกี่ยวกับกำเนิดของเพลงโคราช มีทั้งที่เป็นคำเล่าและตำนานหลักฐานจากคำบอกเล่าของหมอเพลงอีกจำนวนหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสงครามระหว่างไทยกับเขมร เมื่อไทยชนะสงครามเขมรครั้งไร ชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการขับร้องและร่ายรำกันในหมู่สกที่เขาเรียกว่า " ซุมบ้านสก " ใกล้ ๆ กับชุมทางรถไฟ ถนนจิระและเริ่มเล่นเพลงโคราชกันที่หมู่บ้านนี้ ท่าทางการรำรุกรำถอย และการป้องหู มีผู้สันนิษฐานว่าประยุกต์มาจากการเล่นเจรียง ที่เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวสุรินทร์ผสมผสาน กับเพลงทรงเครื่องของภาคกลาง

ที่ทา:http://www.baanmaha.com/community/thread24103.html

เพลงเรือครับ แต่บนเวทีนะ^^



ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=JGJa0E654a0

เพลงเรือ ศิลปะภาคกลาง กับ สายน้ำ

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงเรือ



ความเป็นมาของการเล่นเพลงเรือ
     เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยภาคกลางที่อยู่ตามริมลำน้ำ เช่น สุพรรณบุรี  อ่างทอง อยุธยา ฯลฯ นิยมเล่นกันในหน้านาประมาณเดือน 11-12  อุปกรณ์ในการเล่นเพลงเรือคือ เรือของพ่อเพลงลำหนึ่งและเรือของแม่เพลงลำหนึ่ง เครื่องดนตรีมี  กรับธรรมหรือกรับพวงและฉิ่ง  ถ้าเล่นกลางคืนจะต้องมีตะเกียงไว้กลางลำเรือ เนื้อร้องทั้งสองฝ่ายมาพบกัน  พ่อเพลงก็จะพายเรือเข้าไปเทียบเกาะเรือแม่เพลงไว้แม่เพลงเริ่มด้วยเพลงปลอบ หรือเพลงเกริ่น บางคณะจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูก่อน จากนั้นแม่เพลงก็จะร้องประโต้ตอบเรียกว่า บทประ แล้วต่อด้วยชุดลักหาพาหนี หรือนัดหมายสู่ขอ แล้วต่อด้วยเพลงชุดชิงชู้และเพลงตีหมากผัว เมื่อเลิกก็จะมีเพลงจาก แสดงความอาลัยอาวรณ์

วิธีเล่นเพลงเรือ
     วิธีเล่นหรือการขับเพลงจะมีต้นเสียงขึ้น  และมีลูกคู่รับ  โดยใช้ฉิ่งและกรับพวงเป็นเครื่องประกอบจังหวะเวลาร้อง ต้องร้องให้ลงกับจังหวะพาย ผู้ขับเพลงเรือหรือแม่เพลงต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบที่จะหาคำหรือหยิบยกเอาเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาสอดแทรกเข้า ไปให้เหมาะสมอาจเป็นแข่งขัน ยกย่อง เสียดสี ซึ่งทำให้ผู้ฟังสนุกไปด้วยก่อนการเล่นเพลง ต้องมีการกล่าวกลอนไหว้ครูเสียก่อนจากนั้นจึงจะเอื้อนกลอนพรรณนาหรือชักชวนให้คนอื่นมาเล่นด้วยโดยใช้วิธีว่ากลอนกระทบกระทั่งกระเซ้าเย้าแหย่ จนคู่โต้มิอาจจะทนอยู่ได้จึงเกิดการเล่นเพลงเรือ โต้ตอบกันขึ้น การโต้ตอบกันด้วยเพลงเรือ บางทีก็เผ็ดร้อนใช้คารมที่คมคาย บางทีก็อาจเป็นทำนองรักหวานชื่น ทั้งนี้แล้วแต่โอกาสและสถานการณ์

การแสดงแบ่งเป็น  ฝ่ายชาย  ฝ่ายหญิง  มีพ่อเพลงแม่เพลง
     จะเริ่มด้วยบทไหว้ครู  เกี้ยวพาราสี  ลักหาพาหนีและตีหมากผัว


ลักษณะบทร้องแบ่งเป็น 4 ตอน  คือ
     1. ปลอบ (ฝ่ายชายชวน)
     2. ประ  (ฝ่ายหญิงตอบ)
     3. ดำเนินเรื่อง
     4. จาก

การแต่งกาย
     ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม ผ้าขาวม้าคาดเอว  ส่วนฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก

โอกาสที่แสดง
     แสดงในงานฤดูน้ำหลาก  หรือในงานนักขัตฤกษ์  งานมงคล  เช่น บวชนาค  ทอดกฐินและลอยกระทง

สถานที่แสดง
     แสดงและเล่นกันในเรือ  แต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย  ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่

ตัวอย่างเพลงเรือ

ได้ยินน้ำคำเสียงมาร่ำสนอง                       เสียงใครมาเรียกหาน้อง (ฮ้าไฮ้)ที่ไหนล่ะ
แต่พอเรียกหาฉันแม่หนูไม่นานไม่เนิ่น        เสียงผู้ชายร้องเชิญ....ฉันจะว่า
การจะเล่นจะหัวหนูน้องไม่ดีดไม่ดิ้น            หรอกว่ายามกฐิน....ผ้าป่า
พอเรียกก็ขานแต่พอวานก็เอ่ย                    น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
แต่พอเรียกหาน้องฉันก็ร้องขึ้นรำ                ฉันนบนอบตอบคำจริง....พับผ่า
แม่หนูนบนอบตอบคำ                                ตอบกันไปเสียด้วยน้ำ...วาจา
แต่พอเรียกหาน้องแล้วฉันก็ร้องว่าจ๋า           กันเสียเมื่อเวลาเอ๋ยจวนเอย (รับ)
เมื่อเวลาจวนเอยแต่พอเรียกหาน้อง             แม่หนูก็ร้องว่าจ๋าหาน้องหาน้องแม่หนูก็ร้อง
ว่าจ๋ากันเมื่อเวลา  เอ๋ยเมื่อเวลา   เวลาจวนเอย   ฮ้า...ไฮ้

เอ๋ยเรียกหาน้องร้องเอ่ย                             น้องหนูไม่นิ่งกันทำเฉย...ให้มันช้า
จะเล่นจะหัวกะตัวฉัน                                  เสียงใครมาเรียกแล้วแม่บ้าน...ไกลตา
ครั้นจะไม่ทักไม่ทาย                                  ฉันกลัวว่าพี่แกจะอาย...กันแน่หน้า
ฉันกลัวจะอาจพ่อไหวเอ๋ยเขาบ่น                 ทั้งฝูงผู้ฝูงคน...ก็มากหน้า
ฉันไม่ให้อายพ่อไหวเอ๋ยเขาแย่                   ฉันมิให้พี่ลงไปอาบ...กันแก่หน้า
ฉันจะธุรับหน้าเธอเอาไว้เสมอหน้าท่า
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา                     เพราะเราเป็นคนเห็นหน้ากันเลย (รับ)
เอ๋ยคนเห็นหน้ากันเอย
ฉันไม่ชักหน้าก้มให้หกล้มผวา                     หน้าก้ม  หน้าก้ม  ให้หกล้มผวา  เพราะเป็นคน
เห็นหน้า  เอ๋ยคนเห็นหน้า                           เห็นหน้ากันเลย     (ฮ้า...ไฮ้)

ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=374

การขับซอ(การร้องคำเมือง)

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=JgxnADSdm6M

การขับซอ

ขับลำ ขับซอ เพลงพื้นบ้านแห่งลุ่มน้ำโขง


             เพลงพื้นบ้านเป็นพัฒนาการหนึ่งที่สำคัญของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รวมกลุ่มกันเป็นชนเผ่า มีภาษาสื่อสารระหว่างกัน มีเวลาที่จะคิดสร้างสรรความบันเทิงเพื่อให้ความสนุกสนาน แก่สมาชิกในสังคม เพลงพื้นบ้านเป็น ประดิษฐกรรมทางสุนทรีย์แรกๆ ของมนุษย์ที่เริ่มจากการร้องออกมาเป็นเพลงใช้เสียงปรบมือหรือเสียงเคาะเป็นจังหวะกำกับ ต่อมาในบางท้องที่ได้สร้างเครื่องดนตรีมาเพื่อใช้บรรเลงประกอบ ทำให้เพลงพื้นบ้านมีความไพเราะมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูและส่งเสริมเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทแห่งลุ่มน้ำโขงและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการแสดงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ จึงได้จัดการ แสดง “ขับลำ ขับซอ เพลงพื้นบ้านแห่งลุ่มน้ำโขง” ขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2551 เวลา 16.00 – 20.00 น. ที่ผ่านมาณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน
ซึ่งใน การแสดงทางวัฒนธรรมในวันดังกล่าวมีทั้งการบรรยายและ การสาธิตเพลงพื้นบ้าน ซึ่งในการแสดงครั้งนี้ จะนำเสนอเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทสองกลุ่ม คือ “ขับลำ” ของชนชาติไทอีสาน กับ “ขับซอ” ของชนชาติไทล้านนา“ไท” กลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง ได้สร้างสรรความบันเทิงที่เรียกว่า “เพลงพื้นบ้าน” ของตนขึ้นมา อาทิไทลื้อ สิบสองปันนา มี “ขับ” หรือ บางทีก็เรียก “ขับลื้อ” ไทล้านนา มี “ซอ” ไทใหญ่มี “เสิน” ไทล้านช้างทางเหนือ มี “ขับ” เช่น ขับทุ้มหลวงพระบาง ขับเชียงขวาง ขับซำเหนือ ไทล้านช้างทางไต้ มี “ลำ” เช่น ลำสีพันดอนลำมะหาไชย ลำตังหวาย ไทอีสาน คือกลุ่มคนที่แยกตัวมาจากไทล้านช้าง แล้วถูกผนวกให้เข้ามาอยู่ในอาณาเขตของสยามตั้งแต่เมื่อเกิดรัฐชาติ (Nation State) ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา “ไท” กลุ่มนี้มีเพลงพื้นบ้านเรียกว่า “ลำ” เช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็น “ขับ ซอ เสิน ลำ” ต่างก็เป็นเพลงพื้นบ้านของชนชาติไทกลุ่มต่างๆ ในลุ่มน้ำโขง วัฒนธรรมและคำดังกล่าวเมื่อถูกถ่ายทอดให้แก่ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งพื้นฐานนั้นก็เป็นชนชาติ “ไท” เช่นเดียวกัน ชนกลุ่มดังกล่าวได้มาสร้างสรรเพลงพื้นบ้านของตนนั่นคือ “เสภา” ความหมายเดิมของ “ขับ ซอ เสิน ลำ”หรือแม้แต่ “เสภา” ล้วนเหมือนกัน คือหมายถึง “เพลงพื้นบ้าน” ซึ่งเป็นคำนาม ต่อมาคำว่า “ขับ” มีความหมายเพียง เฉพาะการ “การร้อง” ซึ่งมีความหมายไปในทางคำกิริยาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้คำว่า “ขับ” จึงถูกนำมาใช้เรียกการแสดงเพลงพื้นบ้านของชนชาติไท จึงกลายมาเป็น “ขับลำ ขับซอ” หรือแม้กระทั่ง “ขับเสภา” ของไทสยามการ “ขับ” เพลงพื้นบ้านของชนชาติไทนั่น จะได้รับความสนใจหรือไม่

 ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ “5 ดี” คือ
- เสียงดี หมายถึง เสียงร้องของศิลปินต้องดังกังวานไพเราะเพราะพริ้ง
- ทำนองดี หมายถึง การเลือกทำนองที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด เพราะ ทำนองเป็นเรื่องของอารมณ์
- โวหารดี คือ เนื้อเพลงที่ร้องต้องถูกต้องฉันทลักษณ์ และมีโวหารประทับใจซึ่งเป็นเรื่องของทักษะ
ทางกวีนิพนธ์ เป็นเรื่องความงามทางภาษา
- ปฏิภาณดี คือ ความสามารถด้นกลอนสดๆ ซึ่งในภาคอีสานเรียกว่า “แตกลำ” ทางภาคเหนือเรียกว่า
“ซอเก็บ”
- ดนตรีดี คือ ดนตรีที่บรรเลงประกอบต้องเสียงเพราะและผู้บรรเลงมีฝีมือดี

“ลำ” เพลงพื้นบ้านไทอีสานไทอีสานกับไทล้านช้างโดยเฉพาะที่อยู่ในเขตลาวใต้แม้จะถูกแยกจากกันโดยรัฐชาติ แต่ไม่อาจตัดขาดจากกันทางวัฒนธรรม ในเมื่อ “ลำ” เป็นเพลงพื้นบ้านของลาวใต้ “ลำ” ก็เป็น เพลงพื้นบ้านของไทอีสานเช่นกัน เพียงแต่มีการสร้างสรรลีลาและท่วงทำนองให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน ท่วงทำนองในการ “ขับลำ” ของไทอีสานมีทั้งหมด 4 ทาง หรือที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “วาด” ประกอบด้วย วาดอุบล วาดขอนแก่น วาดพุทไธสง วาดภูเขียว ดังที่กล่าวมาแล้วว่า “ลำ” คือเพลงพื้นบ้านไทอีสาน ซึ่งนอกจากจะมีทำนองร้อง 4 ทำนองหลักแล้ว การ “ลำ” ยังมีรูปแบบการนำเสนอแยกย่อยไปอีก เช่น ลำล่อง หรือลำเดี่ยว มักจะใช้เพื่อพรรณาความหรือตอนบทลาลำคู่ คือการลำคู่ชาย-หญิง เพื่อตอบโต้กัน ลำเต้ย เป็นอีกหนึ่งทำนองลำ แยกย่อยออกเป็น เต้ยพม่า เต้ยโขง เต้ยหัวโนนตาล ลำเพลิน พัฒนาการล่าสุดของ “ลำ” มีจังหวะรวดเร็วเร้าใจในการแสดง “ขับลำ” ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติคือ ฉวีวรรณ ดำเนิน และ ป.ฉลาดน้อย ทั้งสองท่านเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงและเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้นการขับลำครั้งนี้จะเป็นลีลาแบบ “วาดอุบล” รวมทั้งมีศิลปินรุ่นใหม่ที่มาสาธิตการขับลำแบบ “วาดขอนแก่น” ด้วย


“ขับซอ” เพลงพื้นบ้านไทล้านนา

“ขับซอยอราชเยื้อง ทุกเมือง
ลือเล่าพระลอเรือง ทั่วหล้า”

ลิลิตพระลอ

“ขับซอ” หรือ “ซอ” เป็นเพลงพื้นบ้านของไทล้านนา มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเชียงใหม่ มีหลายทำนองเริ่มจากทำนอง ตั้งเจียงใหม่ ตามด้วย จะปุ และละม้าย
นอกนั้นก็มีทำนอง พม่า เงี้ยว อื่อ พระลอ ปั่นฝ้าย ฯลฯการขับซอของกลุ่มนี้ใช้ “ปี่” เป็นเครื่องดนตรีประกอบส่วนมากจะใช้ปี่ 3 เลาที่ต่างเสียงกัน เรียกว่า “ปี่จุม 3”
ปัจจุบันนิยมเอาซึงมาบรรเลงร่วมอีก 1 ตัว ช่วยทำให้เสียงดนตรีเพราะมากยิ่งขึ้น การขับซอประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนืออีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มน่าน หรือบางทีเรียกว่า “ซอล่องน่าน” ซอประเภทนี้มี 2 ทำนองหลัก คือ ล่องน่านกับ ลับแล การขับซอของกลุ่มนี้จะใช้สะล้อ และซึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประกอบ แต่เดิมนิยมกันเฉพาะจังหวัดน่านและจังหวัดแพร่ ปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั่วภาคเหนือในการแสดง “ขับซอ” ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากแม่บัวซอน เมืองป้าว ศิลปินซออาวุโส ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มานาน ได้รับรางวัลเกียรติยศ “ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม” จากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ พร้อมด้วยศิลปินชายคือ มานพ ปริญญาศิลป์ ศิลปินซออาชีพที่โด่งดังของภาคเหนือ ทั้งสองท่านได้แสดงการขับซอ เริ่มจากทำนอง ตั้งเจียงใหม่ จะปุ ละม้าย พม่า เงี้ยว อื่อ พระลอ
การแสดง “ขับซอ” ในวันนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการสาธิตการ “ขับซอล่องน่าน” ให้ชมอีกด้วย โดยได้รับเกียรติจากศิลปินซอล่องน่านที่มีชื่อเสียง นำโดย ลำดวน เมืองแป้ มาจัดแสดง พร้อมสาธิตท่าร่ายรำในแบบเฉพาะช่วงท้ายของการแสดงเป็นการประชันกันระหว่าง แม่ฉวีวรรณ และแม่บัวซอน ในการขับทำนองเพลงพม่า ทั้งขับแบบล้านนาในทำนองซอพม่า และเต้ยพม่าในฉบับอีสานด้วย นับว่าในการแสดงครั้งนี้เราได้เสพสิ่งที่ชวนรื่นเริงทั้งทางใจและทางกาย โดยศิลปินแห่งชาติทั้งหลายได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่มีคุณค่าควรอนุรักษ์สืบทอดต่อไป

ที่มา http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=120&category_id=7

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ลำตัด

  

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=wb4lT89-aAk

ลำตัดภาคกลาง

ลำตัด

         ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย


         ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู
ประวัติความเป็นมา

         ลำตัด เรียกได้ว่า เป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า”ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า”ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลงและทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง

         โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้นบัดนี้ชื่อถูกตัดลงไปโดยความกร่อนของภาษาเหลือ เพียงว่า ”ลำตัด” เป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียกง่าย มีความหมายรู้ได้ดีมาก (มนตรี ตราโมด,2518 : 46 – 65) กล่าวคือ ความหมายเดิม “ลำ” แปลว่าเพลงเมื่อนำมารวมกับคำว่า ”ตัด” จึงหมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่นตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่า ลำตัด (ธนู บุญยรัตพันธ์, สัมภาษณ์)

         สังคมใดสังคมหนึ่งจะตั้งมั่นและดำรงอยู่ได้อย่างถาวรนั้นจำเป็นจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างของสังคมที่มั่นคงแข็งแรงไม่ว่าจะเป็นโครง สร้างทางการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม (สงบ ส่งเมือง, 2534 : 15) การศึกษาลำตัดซึ่งเป็นกลไกทางสังคมอันหมายถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในระดับท้องถิ่นที่ยังคงความเป็นแบบดั้งเดิม (Tradition)ในครั้งนี้จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสานความเป็นศิลปวัฒนธรรมที่จะชี้ให้เห็นการดำรงอยู่ในบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย

         ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสศิลปะทุกแขนงย่อมได้รับผลกระทบการจะให้คงความเป็นลักษณะเดิม อยู่ตลอดเวลาจึงย่อมเป็นไปไม่ได้กล่าวคือศิลปะพื้นบ้านทั้งมวลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามค่านิยมและอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกซึ่งจะส่งผล ต่อการเลือนหายการขาดความต่อเนื่องและการผิดเพี้ยนจากของเดิมเพราะฉะนั้นการสืบสานและการอนุรักษ์จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ ดังนั้นด้วยแนวคิดดังกล่าว การศึกษาวิจัย ลำตัดในครั้งนี้

         จึงจะนำมาซึ่งการรักษาศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้านของชาติให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อชาติผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะศึกษาเรื่องเพลง พื้นบ้าน ลำตัด เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการละเล่นลำตัด เป็นการรวมเอาเพลงพื้นบ้านหลายชนิดเข้าด้วยกัน การศึกษา รวบรวม และบันทึก “ทำนองเพลง” เพลงลำตัดและของบทเพลงพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในการละเล่นลำตัด

         จึงจะเป็นการอนุรักษ์ลักษณะของทำนองเพลงทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบในการละเล่นดังกล่าวนั้นให้คงอยู่เป็นแบบฉบับซึ่งจะเป็น แนวทางในการสืบสานที่ถูกต้องและต่อเนื่องตามแบบแผนอีกทั้งจะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมได้เล็งเห็นถึงความมีคุณค่าของเพลงที่ควรแก่การ สืบทอดและการพัฒนาบนพื้นฐานของความเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แท้จริงเพื่อเป็นพลังสำคัญสำหรับความอยู่รอดของสังคมวัฒนธรรมของชาติไทยเราสืบไป
การสื่อถึงลำตัด

         ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิมต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วนๆเพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษีซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ 2 คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญและคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิมการแสดงลำตัดเป็นการเฉีอนคารมกันด้วยเพลง(ลำ)โดยมีการรำประกอบแต่ไม่ได้ เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเกและการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณใน การด้นกลอนสดส่วนการประชันลำตัดระหว่าง2 คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะ


ศิลปินแห่งชาติ


นางประยูร ยมเยี่ยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) พุทธศักราช 2537

         แม่ประยูร มีชื่อและนามสกุลจริงว่า นางประยูร ยมเยี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2476 ที่จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันอายุ68ปีท่านมีนิสัยรักการอ่านมาตั้งแต่เด็กสามารถอ่านบทร้อยกรองได้อย่างไพเราะทั้งยังมีความทรงจำดีเยี่ยมเมื่ออายุได้ราว 13-14ปีคุณตาของท่านซึ่งมองเห็นแววว่าท่านน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีได้จึงสนับสนุนให้เอาดีทางด้านการแสดงโดยการไหว้วานคนรู้จักที่ชื่อนายแดงให้ ช่วยหาครูสอนเพลงพื้นบ้านให้

         นายแดงจึงได้พาแม่ประยูรไปเรียนกับครูบาง ที่ตำบลบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งครูบางก็ได้สอนการเล่นลำตัดให้จนแม่ประยูรเล่นได้ดี และเริ่มออกแสดงลำตัดเป็นครั้งแรกเมื่อราวปี 2491 ขณะที่มีอายุได้ 15 ปี

         ครั้นอายุประมาณ18ปีแม่ประยูรก็ได้สมัครเข้าเล่นลำตัดกับคณะแม่จำรูญซึ่งเป็นลำตัดที่มี ชื่อเสียงมากในสมัยนั้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งแม่จำรูญก็ได้ช่วยถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและลำตัดให้แม่ประยูรอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ยิ่งขึ้น สามารถด้นกลอนสด และแต่งคำร้องได้อย่างเฉียบแหลมคมคาย และได้มีโอกาสออกแสดงเป็นประจำ จนเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

         ในช่วงที่ร่วมคณะลำตัดกับแม่จำรูญนั้นแม่ประยูรก็ได้พบกับ“หวังเต๊ะ”และได้ร่วมประชันลำตัดกันอย่างสม่ำเสมอจน กลายเป็นคู่ประชันลำตัดยอดนิยมสูงสุดจากนั้นก็ได้แต่งงานอยู่กินกันจนมีบุตรด้วยกัน 2 คนก่อนที่จะหย่าขาดจากกันแต่ก็ยังคงแสดงลำตัดร่วมกัน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน(ซึ่งผมก็ได้เล่าความยิ่งใหญ่และโด่งดังของทั้ง 2 ท่านนี้เอาไว้แล้วในฉบับก่อน จึงจะไม่ขอเล่าซ้ำอีก)

         นอกจากลำตัดแล้ว แม่ประยูรยังมีความสามารถในการแสดงเพลงพื้นบ้านอีกหลายประเภท ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ และเพลงขอทาน เป็นต้น

         ท่านได้ตระเวนออกแสดงเพลงพื้นบ้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งลำตัดไปทั่วประเทศและยังเป็นผู้ริเริ่มใน การนำลำตัดมาจัดทำเป็นเทปคาสเซ็ทท์ และวิดีโอออกจำหน่ายหลายชุด ได้แก่ ชุดจุดเทียนระเบิดถ้ำ ชุดดังระเบิด ชุดเกิดแก่เจ็บตาย และชุดชายสอนหญิง เป็นต้น
คณะหวังเต๊ะ

         นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม2468ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง

         หวังเต๊ะเป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัวมีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดในการแสดงเพลงพื้นบ้านสามารถ ด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคายเหมาะสมกับลีลาและสถานการณ์สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผุ้ฟังผมชอมตลอดเวลายากจะหาใครเทียบได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันหวังเต๊ะได้แสดงให้มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดงได้อย่างเชี่ยวชาญสมกับสุนทรียลักษณ ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล

         นอกจากนั้นหวังเต๊ะยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531

ที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

เพลงบอก มรดกไต้ที่หาฟังยาก



ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=BZ4FOfmRIug

เพลงบอก มรดกภาคไต้


                                                    


 เพลงบอกเป็นเพลงพื้นเมืองที่นิยมเล่นแพร่หลายที่สุดในสมัยก่อน เมื่อถึงหน้าสงกรานต์ยังไม่มีปฏิทินบอกสงกรานต์แพร่หลายอย่างปัจจุบัน จะมีแม่เพลงนำรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์ออกป่าวประกาศแก่ชาวบ้าน โดยร้องเป็นเพลงพื้นบ้านและมีลูกคู่รับเป็นทำนองเฉพาะ จึงมีชื่อเรียกว่าเพลงบอก
    กลอนเพลงบอกดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเพลงเห่ หรือเพลงฉะ บ้างก็เรียกเพลงแปดบท เพลงชนิดนี้จะมีแม่เพลงว่าเป็นแบบกลอนด้น ครั้งละ ๒ วรรค แล้วลูกคู่รับดะ กลอนแปดบทเฟื่องฟูอยู่ทาง นครศรีธรรมราชประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ปีที่แล้ว และมีการดัดแปลงมาเป็นลำดับ จนถึงรัชกาลที่ ๕ พระรัตนธัชมุณี เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดระเบียบกฏเกณฑ์กลอนเพลงบอกขึ้นใหม่ โดยจะมีการรับของลูกคู่และอาจแทรกวลีหรือถ้อยคำระหว่างกลอนที่แม่เพลงกำลังว่าอยู่ เพื่อให้ลีลากลอนครึกครื้นสนุกสนาน และช่วยแก้ปัญหาการติดกลอดของแม่เพลงได้ วิธีการนี้ของลูกคู่เรียกว่า "ทอยเพลงบอก"
   ในปัจจุบันนอกจากมีการว่าเพลงบอก เพื่อบอกข่าวสงกรานต์แล้ว ยังนำไปเล่นในโอกาสอื่นๆ เช่น บอกข่าวประชาสัมพันธ์งานบุญงานกุศล เพลงบอกร้องบวงสรวงในพิธีกรรมต่างๆ เพลงบอกร้องชา เป็นต้น

อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. อุปกรณ์
    เพลงบอกคณะหนึ่งมีแม่เพลง ๑ คนและลูกคู่อีก ๔ ถึง ๖ คน มีฉิ่งเป็นดนตรีประกอบเพียงอย่างเดียว การร้องเพลงบอกใช้ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ โดยร้องด้นเป็นกลอนสดแท้ ๆ ใช้ปฏิภาณร้องไปตามเหตุการณ์ที่พบเห็น แม่เพลงต้องมีความรอบรู้ไหวพริบดี และฝึกฝนจนแม่นยำในเชิงกลอน
๒. วิธีการเล่น
    สำหรับวิธีการขับเพลงบอก เมื่อแม่เพลงร้องจบวรรคแรกลูกคู่ก็รับครั้งหนึ่งโดยรับว่า "ว่าเอ้ว่าเห้" พร้อม ๆ กับจะต้องคอยตีฉิ่งให้เข้ากับจังหวะ ถ้าหากแม่เพลงว่าวรรคแรกซ้ำอีก ลูกคู่ก็จะรับว่า "ว่าทอยช้าฉ้าเหอ" และเมื่อแม่เพลงว่าไปจนจบบทแล้ว ลูกคู่จะต้องรับวรรคสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง
    ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกลอนเพลงบอกประชัน ตอนที่ปานบอดได้โต้ตอบกับเพลงบอกรุ่งอันแสดงถึงความสามารถในเชิงเพลงบอก
รุ่ง : กูไม่เป็นเวสสันดร (รับ)) เพราะจะเดือดร้อนที่สุด กูจะเป็นนายเจตบุตร ที่ร่างกายมันคับขัน (รับ)
คอยยิงพุงชูชก (รับ) ที่สกปรกเสียครัน ถือเกณฑ์ขวางไว้ ไม่ให้มึงเข้าไป (รับ)
ปาน : ดีแล้วนายเจตบุตร (รับ) เป็นผู้วิสุทธิ์สามารถ เป็นบ่าวพระยาเจตราช ที่เขาตั้งให้เป็นใหญ่ (รับ)
ถือธนูหน้าไม้ (รับ) คอยทำลายคนเข้าไป เขาตั้งให้เป็นใหญ่ คอยเฝ้าอยู่ปากประตูป่า (รับ)
คนอื่นอื่นมีชื่อเสียง (รับ) เขาได้เลี้ยงวัวควายแต่นายเจตบุตรรุ่งนาย เขาใช้ให้เลี้ยงหมา (รับ)
    ตัวอย่างการว่าเพลงบอกดังนี้
(แม่เพลง "รุ่ง") กูไม่เป็นเวสสันดร
(ลูกคู่) ว่าเอ้ว่าเห้ เวสสันดร
(แม่เพลง "รุ่ง") กูไม่เป็นเวสสันดร
(ลูกคู่) ว่าทอยช้าฉ้าเหอ เวสสันดร
(แม่เพลง "รุ่ง") เพราะจะเดือดร้อนที่สุด กูจะเป็นนายเจตบุตรที่ร่างกายมันคับขัน
(ลูกคู่) ที่ร่างกายมันคับขัน กูจะเป็นนายเจตบุตร ที่ร่างกายมันคับขัน

โอกาส/เวลาที่เล่น
๑. เพลงบอก นิยมเล่นกันในวันตรุษสงกรานต์ เป็นการบอกกล่าวป่าวร้องให้ชาวบ้านทุกละแวกได้ทราบว่าถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว โดยเฉพาะรายละเอียดการเปลี่ยนปี หรือการประกาศสงกรานต์ประจำปีซึ่งสมัยก่อนไม่ได้มีการพิมพ์ปฏิทินอย่างเช่นในปัจจุบัน
พอถึงปลายเดือนสี่ย่างเดือนห้า ซึ่งเป็นระยะที่ชาวนาส่วนมากเก็บเกี่ยวขึ้นยุ้งขึ้นฉางเสร็จแล้ว เวลาพลบค่ำตามละแวกบ้านจะได้ยินเสียงเพลงบอกแทบจะกล่าวได้ทุกหมู่บ้านของจังหวัดนครศรีธรรมราช ออกตระเวณตามบ้านใกล้เรือนเคียงโดยมีบุคคลซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้านนั้น ๆ เป็นคนนำทาง คอยไปปลุกเจ้าของบ้านให้เปิดประตูรับ
เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูรับ แม่เพลงก็จะขับกลอนเพลงบอกขึ้นในทันที เนื้อความตอนแรกมักจะเป็นบทไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกล่าวชมเชยเจ้าของบ้านตามสมควร เจ้าของบ้านจะเชื้อเชิญขึ้นบนเรือน ยกเอาหมากพลู บุหรี่ เหล้ายาปลาปิ้งออกมาเลี้ยง ตอนนี้เพลงบอกจะว่าเพลงเล่นตำนานสงกรานต์ในปีนั้นให้ฟัง ถ้าเจ้าของบ้านพอใจก็จะให้รางวัล
๒. เพลงบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกข่าวเชิญไปทำบุญกุศลที่นั่นที่นี่ตามเหตุการณ์ จะเห็นได้ว่าเพลงบอกเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการป่าวประกาศเรื่องต่าง ๆ ให้ประชาชนทราบนั่นเอง เหตุผลก็คือในสมัยโบราณคนที่รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้มีน้อยกิจการพิมพ์ก็ไม่แพร่หลาย ข่าวที่ใช้เพลงบอกเป็นสื่อจะได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าการสื่อสารธรรมดา เพราะฟังแล้วเกิดความสนุกด้วย
๓. เพลงบอกประชัน เป็นการโต้เพลงบอกให้ผู้ชมฟัง โดยการจัดเวที เพื่อประชันโต้ตอบ ไม่มีการกำหนดหัวข้อและเวลา แล้วแต่ใครจะหยิบยกเรื่องอะไรมาว่า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบ และต้องว่าในทำนองข่มกัน หาทางโจมตีและกล่าวแก้ได้ทันควัน การตัดสินแพ้ชนะใช้เสียงผู้ชมเป็นหลัก โดยฟังจากเสียงโห่หรือโต้กันจนอีกฝ่ายหนึ่งยอมแพ้

คุณค่าและแนวคิด
การเล่นเพลงบอกให้คุณค่าดังนี้
๑. เป็นการใช้ภูมิปัญญาเพื่อประชาสัมพันธ์ประกาศบอกข่าวแก่ชาวบ้าน ในสมัยที่การสื่อสารยังไม่เจริญและไม่มีปฏิทินบอกวันเหมือนอย่างในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสงกรานต์และข่าวต่าง ๆ
๒. น้ำเสียง ถ้อยคำในการว่าเพลงบอก ให้ความครึกครื้นสนุกสนาน ข่าวที่มากับเพลงบอก จึงได้รับความสนใจจากชาวบ้านมากกว่าบอกข่าวธรรมดา ปัจจุบันเพลงบอกจึงนำมาใช้บอกบุญ โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง และเชิญชวนให้คนไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง
๓. นักว่ากลอนได้แสดงความสามารถในกลอนปฏิภาณ และศิลปะในการขับกลอน การประชันอวดฝีปากในเชิงกลอน ผู้ว่ากลอนต้องมีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด หลักแหลม ไหวพริบดี และแม่นยำในเชิงกลอน นับเป็นวิธีการพัฒนาความรู้ของชาวบ้านได้อีกวิธีการหนึ่ง

ที่มา:http://www.moradokthai.com/plangbok.htm

หนังปโนทัย

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=qGzRG8llC1Q&feature=related 

ขอดีที่นับวันจะเลือนหาย

ประโมทัย: หนังตะลุงอีสาน”

ประโมทัย: หนังตะลุงอีสาน”



โดยคณะประกาศสามัคคี จ. ร้อยเอ็ด ร่วมสาธิตโดย อ.ชุมเดช เดชภิมล (ม. มหาสารคาม)
ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ชุมเดช เดชภิมล ศิลปินนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ผู้คลุกคลีอยู่กับหนังตะลุงอีสานกว่า ๒๐ ปี สรุปว่า หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ดมีต้นแบบจากหนังตะลุงภาคใต้และภาคกลาง  โดยรับช่วงมาจากจังหวัดอุบลราชธานีและอุดรธานี เราอาจแบ่งหนังตะลุงอีสานออกได้เป็นอีก 2 กลุ่มตามเนื้อเรื่องที่นิยมเล่น คือ กลุ่มที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ และกลุ่มที่เล่นเรื่องสินไซ (สังข์ศิลป์ไชย)

กลุ่มที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ยังคงการแสดงตามแบบโขนละครไว้ ดำเนินเรื่องโดยใช้บทพากย์และบทเจรจาเป็นกลอนบทละคร ดนตรีหลักคือระนาด เครื่องให้จังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ กลอง หนังตะลุงกลุ่มนี้แพร่หลายอยู่ในแถบจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนกลุ่มที่นิยมเล่นเรื่องสินไซ นิยมดำเนินเรื่องแบบหมอลำหมู่ บทพากย์และบทเจรจาเป็นกลอนลำ ดนตรีหลักคือ แคน เครื่องให้จังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ และกลอง หนังตะลุงอีสานในกลุ่มนี้แพร่หลายอยู่ในแถบจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น สำหรับหนังตะลุงอีสานคณะประกาศสามัคคีที่มาแสดงในวันนี้จัดอยู่ในกลุ่มแรก และเล่นอยู่เพียงตอนเดียวมาตั้งแต่เริ่มคณะคือ “ศึกไมยราพ”
                        

การแสดงเริ่มจาก การไหว้ครู การโหมโรง การประกาศชื่อเรื่อง การออกรูปฤาษี การเชิดตามเนื้อเรื่อง และการจบ ทำนองพากย์หนังประโมทัยประกอบด้วย ทำนองร้องที่เป็นภาษาภาคกลาง มีเอื้อนเกริ่นนำ และทำนองร้องแบบหมอลำที่เป็นภาษาอีสาน บางตอนมีลิเกลาว เสภาอีสาน และเพลงไทยเดิมประกอบ บทเจรจาที่ใช้แบ่งตามฐานะของตัวละครและโครงสร้างทางอำนาจในสังคม ผู้มีอำนาจยศศักดิ์ เช่น ตัวพระตัวนาง ยักษ์ เจรจาเป็นภาษากลาง บทเจรจาภาษาถิ่นอีสานใช้กับตัวตลก เสนา และบริวาร หนังประโมทัยมีลักษณะเด่นที่อารมณ์ขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เชิด โดยจะแทรกอารมณ์ขันในเนื้อเรื่องและบทเจรจา ซึ่งสามารถออกนอกเรื่องได้

                            
            
หัวหน้าคณะหนังบางคณะอาจเป็นเพียงตัวตลก เพราะตัวตลกในหนังประโมทัยถือว่าเป็นตัวเด่นที่สุดในการแสดง (นายประกาศ เหิรเมฆ หัวหน้าคณะคนเก่าของคณะประกาศสามัคคี เล่นตัวตลกบักป่อง มีชื่อเสียงจนติดปากคนร้อยเอ็ดจนเรียกหนังบักป่องบักแก้ว) กล่าวได้ว่า คณะประกาศสามัคคีในปัจจุบันมุ่งแสดงเฉพาะตลก เรื่องดำเนินไปเพียงเพื่อให้ตัวตลกได้เปลี่ยนฉากแสดงออกไปเรื่อยๆ มีตลกแทรกมากกว่าเรื่องที่มีอยู่ และตัวหนังที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดของคณะประกาศสามัคคีในปัจจุบันก็คือ ปลัดตื้อ นั่นเอง

ที่มา: http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php?lecture_id=107&category_id=7                                
                                                    

หนังปราโมทัย เรื่อง สังข์สินไซ

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=8arBOrXtIoY

ประวัติหมอลำ

  ประวัติหมอลำ
              การลำ นับเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคอีสาน ที่มีการวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมมากทุกยุคทุกสมัย เริ่มจากการลำพื้นเมือง ซึ่งได้แก่การนำเนื้อหาของนิทานพื้นบ้าน เช่นการะเกด สินไช นางแตงอ่อน ลำโดยใช้หมอลำ 1 คน และหมอแคน 1 คน ผู้ลำสมมติคนเป็นตัวละครทุกตัว ในเรื่องและลำตลอดคืน การลำพื้นเป็นต้นกำเนิดของการลำทุกประเภท
             ต่อมาลำพื้น ได้วิวัฒนาการมาเป็นการลำคู่ ซึ่งได้แก่ การลำ 2 คน ชายกับชาย หรือ ชายกับหญิง จนประมาณปี พ.ศ.2494 การลำระหว่างชายกับชายจึงเลิกไป เหลือระหว่างการลำชายกับหญิงมาจนถึงปัจจุบัน หมอลำคู่ที่มีชื่อเสียงรุ่นแรกๆ ได้แก่ หมอลำคูณ (ชาย) และหมอลำจอมศรี (หญิง) ชาวอุบลราชธานีนอกจากนี้ยังมีหมอลำทองมาก จันทะลือ (หมอลำถูทาชาย) หมอเคน ดาหลา (ชาย) เป็นต้น
             การลำได้วิวัฒนาการต่อมาอีก จากการลำ 2 - 3 คน กลายมาเป็นการลำหลายๆคน เรียกว่า "หมอลำหมู่" ซึ่งมีประมาณ 10 กว่าคน เป็นการลำตามเรื่องราวอาจใช้นิทานพื้นบ้านหรือชาดกเป็นเนื้อเรื่อง ลีลาการลำมีหลายแบบ อาทิ ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น คณะหมอลำหมู่ชื่อเสียง ได้แก่รังสิมันต์ ซึ่งเป็นคณะหมอลำของชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อเสียงมากระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2510


หมอลำ  ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย

                คำว่า  "ลำ"  มีความหมายสองอย่าง  อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ  เช่น  เรื่องนกจอกน้อย  เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ   กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า  กลอนลำ

         อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา     ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"

วิวัฒนาการของหมอลำ

             ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม      โดยเรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น

   เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดง มีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่น ยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ

                 จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อยๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครที่มีในเรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกง ตัวตลก เสนา ครบถ้วน ซึ่งพอจะแบ่งยุคของวิวัฒนาการได้ดังนี้

ลำโบราณ

             เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ

ลำคู่หรือลำกลอน

             เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้

ลำหมู่

            เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ

             ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี

ลำซิ่ง

                 หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า         "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"
      
        

ตัวอย่างหมอลำเพลิน

  

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=1wMrU2oCkSk&feature=related

กันตรึมสุรินทร์

 

ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=3AG_r8VgzkI

กันตรึม จ.สุรินทร์

                                              กันตรึม จ.สุรินทร์        

         เป็นการละเล่นที่มีมานาน  แรกเริ่มนิยมเล่นประกอบพิธีกรรม  เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์  รักษาคนไข้โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด  เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ  รักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรมดังกล่าว  ยังนิยมกันมาถึงทุกวันนี้

มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ  และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง  ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน  เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว  และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม  ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน  คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ  และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค  กันตรึมเจรียง เป็นต้น

กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์  ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร  ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง  กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน  ไม่เน้นทางด้านการรำ  แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง  ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู

ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม  คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร  จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด  บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค  แต่ละบทไม่จำกัดความยาว  สัมผัสระหว่างบท  บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี  บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว  มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา  ทำนองเพลงมีหลายจังหวะ ประมาณ 228 ทำนองเพลง  มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์  อาศัยการจดจำเท่านั้น  คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท  กล่าวถึงการทำนา  ภารกิจ  งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา  การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี  และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง  เป็นต้น

(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)

กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมือง จ.สุรินทร์  โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์  ฉบับปฐมฤกษ์  มหกรรมวัฒนธรรม 2541  งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า 51)

ที่มา:http://surin108.com/web/blog/2009/10/07/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%A1/

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

หมอลำกับวิถีชีวิต

ดังที่จะทราบกันอยู่แล้วว่า

หมอลำ อยู่คู่กับชาวอีสานมาเนินนานแล้ว มีใครจะรู้ใหมว่า หมอลำนั้นมีกี่ประเภทหมอลำนั้นตามที่ท่านผู้รู้ ปราชญ์ชาวย้าน ได้กล่าวถึงสามมารถจำแนก ออกมาเป็น 4 ประเภท
นั้นคือ

        1. หมอลำพื้น หมอลำพื้นั้นท่านได้กล่าวว่า เป็นหมอลำที่เก่าแก่ที่สุด เป็นการแสดงเพียงคนเดียว อุปกรณ์มีอย่างเดียว คือ ผ้าขาวม้า เครื่องดนตรี คือ แคนเก้า เป็นแคนทำนองเสียงทุ้มต่ำ ใช้ประกอบการร้อง เล่านิทาน ซึ่งมีการไปคล้องกันกับ การแอ่วลาวเป่าแคน ขอชาวภาคกลางด้วย
       2.หมอลำกลอน เป็นหมอลำที่ใช่ผู้แสดง 2 คน หรือ  3 คน เป็นการประชันโต้ตอบ เกี้ยวพาราศรี
อย่างเช่น มีหมอลำ 2คนยืนบนเวที มีแคนอยู่1 เต้า สองคนนั้น อาจเป็น ชาย-ชาย หรือ ชาย-หญิง มีการลำโต้ตาม ไต่ถาม แต่การลำประเภทนี้จะเป็นการลำ โต่ตอบในเรื่อง พทธศาสนาบ้าง และการนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า มาสั่งสอนคนที่รับฟัง เป็นในทอง ที่เรียกว่า กลอนลำ
      3.หมอหมู่ หรือ หมอลำครัว คือการที่การแสดงแต่ละครั้งมีผู้แสดงมากว่า 5 คน การแดงแบบเล่นนิทาน และมีหลายฉาก พร้อมกับสอดแทรกความสนุกสนานไปด้วย
      4.หมอลำเพลิน เป็นหมอลำที่มีจังหวะในการลำเร็วขึ้น เครื่องดนึคือ พิณ ซอ แคน และกลองหาง ใช้ในการให้จังหวะ ลำเพลินที่นิยมใช้แสดงคือ ลำเพลินเรื่องแก้วหน้าม้น และ ขุนแผน
ในปัจจุบันก็มีหมอลำเกิดขึนอีกก็คือหมอลำซิ่ง ซึ่งมีจังหวะที่สะนุกและ เร้าใจ


เรื่องเล่าชาวอีสาน




ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=Ur0eH3_TQt4&feature=related

ครูทองไส ทับถนน



ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=aeI9-98FSTo&feature=related

ดนตรีอีสาน


           




          ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง เพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานนั้นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และมีนิสัยเป็นคนชอบสนุกสนาน จึงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส      การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวันหรือเกิดจากประเพณีตามฤดูกาล โดยจะเห็นได้จาก การแสดงต่างๆ เช่น เซิ้งบุญบั้งไฟ เซิ้งแห่นางแมว การฟ้อน รำ ต่างๆ   ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะชาวอีสาน คือ ลีลาและจังหวะการก้าวท้าว มีลักษณะคล้ายเต้ยแต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดปลายเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของการเซิ้ง    ดนตรีอีสาน ถือว่า เป็นเครื่องดนตรีประจำท้องถิ่นของชาวอีสาน มีการประดิษฐ์จากวัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติ และหาได้ตามท้องถิ่นได้ง่าย ดนตรีพื้นเมืองอีสานสามารถแบ่งออกตามลักษณะของเครื่องดนตรี
 ได้ 4 ประเภท คือ
               1. เครื่องดีด ได้แก่ พิณ
               2. เครื่องสี ได้แก่ ซออีสาน
               3. เครื่องตี ได้แก่ โปงลาง กลองยาว เกราะ ฯลฯ
               4. เครื่องเป่า ได้แก่ แคน  หึน เป็นต้น
      ดนตรีอีสาน ส่วนใหญ่แล้วการบรรเลงจะเป็นลักษณะแบบชาวบ้านไม่มีแบบแผนมากนัก ใช้ในการประกอบการแสดง ในงานรื่นเริง สนุกสนาน หรือ ใช้ในพิธีกรรมของชาวอีสาน

ทีีมา:นายสุรพล เนสุสินธ์  อาจารย์ประจำวิชาดนตรีอีสาน 1
(http://std.kku.ac.th/4632200551/index.html)